หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/23

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๓

วรรค ตะ กับตัว ล และ ส เกิดแต่ฟัน ไทยเราเรียกตรงกัน เว้นแต่ตัว ท เขาออกเสียงเป็นตัว ด แต่ไทยเราออกเสียงตรงกับตัว ธ

วรรค ปะ กับตัว ว เกิดแต่ริมฝีปาก ไทยเรียกตรงกัน เว้นแต่ พ เราเรียกเหมือนตัว ภ แต่เขาออกเสียงเหมือนตัว บ และไทยเราเติม ฝ ฟ ซึ่งมีเสียงเกิดแต่ฟันและริมฝีปากเข้าอีก

ตัว อ นั้นนับว่าไม่มีเสียง ตั้งไว้สำหรับเป็นทุ่นให้สระเกาะเท่านั้น

ตัว ฮ นั้นมีเสียงฐานเดียวกับตัว ห ซึ่งไทยเติมเข้ามา

ข้อ ๑๔. พยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัวนั้น ถ้าไม่กำหนดเสียงสูงต่ำแล้ว ก็มีเสียงตามที่ไทยใช้อยู่เพียง ๒๐ เสียงเท่านั้น ดังนี้:–

(๑) 
(๒) ข ฃ ค ฅ ฆ
(๓) 
(๔) 
(๕) ฉ ช ฌ
(๖) ซ ศ ษ ส
(๗) ญ ย
(๘) ฎ ด กับเสียง ฑ บางคำ
(๙) ฏ ต
(๑๐) ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ

(๑๑) น ณ
(๑๒) 
(๑๓) 
(๑๔) ผ พ ภ
(๑๕) ฝ ฟ
(๑๖) 
(๑๗) 
(๑๘) ว ฬ
(๑๙) 
(๒๐) ห ฮ
(เสียง อ ไม่นับ)

ตัว ญ ย นี้ เมื่อประสมสระออกเสียงอย่างเดียวกับ แต่เป็นตัววะกดมีเสียงต่างกัน คือตัว ญ เป็นแม่กน, ตัว ย เป็นแม่เกย