หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/28

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๘

ดังนี้เป็นต้น วรรณยุกต์มีรูปนี้ มีเพียง ๔ เสียง คือ เอก โท ตรี จัตวา เท่านั้น เสียงสามัญไม่มี

(๒) วรรณยุกต์ไม่มีรูป คือวรรณยุกต์ที่ไม่ต้องใช้รูปวรรณยุกต์บังคับข้างบน สังเกตเสียงได้ด้วยวิธีกำหนดตัวพยัญชนะเป็นสูง กลาง ต่ำ แล้วประสมกับสระและพยัญชนะ อ่านเป็นเสียงวรรณยุกต์ได้ตามพวก เช่น – คาง ขาก คาก คัก ขาง ดังนี้เป็นต้นไป วรรณยุกต์ไม่มีรูปนี้ มีครบทั้ง ๕ เสียง

คำเป็นคำตาย

ข้อ ๑๙. ที่จริงคำเป็นคำตายนี้ ควรจะอยู่ในวิธีประสมอักษร แต่เห็นว่าเป็นหลักสำคัญของวรรยุกต์ จึงได้นำมาอธิบายไว้ที่นี้

คำเป็น คือเสียงที่มีทีฆสระ (สระยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กือ กู ฯลฯ พวกหนึ่ง กับเสียงแม่ กง กน กม เกย เกอว ทั้งหมดอีกพวกหนึ่ง

คำตาย คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระสั้น) ในแม่ ก กา (เว้นแต่สระ อำ ไอ ใอ เอา ๔ ตัวนี้ถึงเป็นสระสั้นก็มีเสียงเป็นตัวสะกดในแม่ กม เกย เกอว จึงนับว่าเป็น คำเป็น) เช่น กะ กิ กุ ฯลฯ พวกหนึ่ง กับเสียงในแม่ กก กด กบ ทั้งหมดอีกพวกหนึ่ง

ครั้งบุราณผันด้วยไม้วรรณยุกต์ได้แต่คำเป็นเท่านั้น คำตายผันไม่ได้ เว้นไว้แต่คำตายอักษรกลาง ผันด้วยไม้ตรีได้ เช่น แป๊ะ โต๊ะ จุ๊บ ฯลฯ มาบัดนี้ มีวิธีผันได้เหมือนกัน ดังจะอธิบายต่อไป