หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/29

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๙

ไตรยางศ์

ข้อ ๒๐. ไตรยางค์ แปลว่า ๓ ส่วน คือท่านแบ่งพยัญชนะออกเป็น 3 ่พวก ้ตามวิธีวรรณยุกต์ เพราะวรรณยุกต์นั้นเกียวของกับพยัญชนะ ท่านจึงเขียนรูปวรรณยุกต์ไว้บนพยัญชนะ ดังอธิบายแล้ว ถึงสระจะเป็นต้นเสียงก็ดี เสียงสละก็ต้องสูงต่ำไปตามรูปวรรณยุกต์ที่อยู่บนเพลชนะไตรยางค์คือ อักษร ๓ หมู่นั้น ดังนี้

(๑) อักษรสูงมี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ผันได้ ๓ เสียง คือ:–

คำเป็น พื้นเสียงเป็นจัตวา ผันด้วยไม้ -่ -้ เป็นเสียง เอก โท ตามลำดับดังนี้ ขา ข่า ข้า, ขัง ขั่ง ขั้ง

คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอกผันด้วยไม้ -้ ก็เป็นเสียง โท ดังนี้ ขะ ข้ะ, ขาก ข้าก

(๒) อักษรกลางมี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ผันได้ครบทั้ง ๕ เสียง คือ:–

คำเป็น พี้นเสียงเป็นสามัญ ผันด้วยไม้ -่ -้ -๊ -๋ เป็นเสียง เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับดังนี้ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า, กัง กั่ง กั้ง กั๊ง กั๋ง

คำตาย พี้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้ -้ -๊ -๋ เป็นเสียง โท ตรี จัตวา ตามลำดับดังนี้ กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ, กัก กั้ก กั๊ก กั๋ก

(๓) อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ถ ม ย ร ล ว ฬ ฮ ผันได้ ๓ เสียง คือ:–