หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/33

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๓

ภาคที่ ๒ วิธีประสมอักษร

พยางค์

ข้อ ๒๓. อักษรทั้ง๓พวกดังที่กล่าวมาแล้วในภาค ๓ นั้น ตั้งขึ้นเพื่อใช้แทนคำ ถ้อยคำที่เราใช้พูดกันนั้นบางมีก็เปล่งเสียงออกมาครั้งเดียว บางทีก็หลายครั้ง เสียงที่เปล่งอกมา ครั้ง ๆ หนึ่งนั้น ท่านเรียกว่า ‘พยางค์’ คือส่วนของคำพูด เพราะฉะนั้น คำพูดคำ ๆ หนึ่งจึงมีพยางค์ต่าง ๆ กัน เช่น ‘นา’ (ที่ปลูกข้าว) เป็นคำหนึ่งที่มีพยางค์เดียว, ‘นาวา’ (เรือ) เป็นคำหนึ่งมี ๒ พยางค์, ‘นาฬิกา’ เป็นคำหนึ่งมี๓พยางค์ และคำอื่นๆ ที่มีพยางค์มากกว่านี้ก็ยังมี

วิธีประสมอักษร

ข้อ ๒๔. ส่วนของคำพูดคือพยางค์หนึ่ง ๆ นั้น ถ้าจะใช้ตัวอักษรเขียนแทน ก็ต้องใช้อักษรทั้ง๓พวก คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ประสมกัน จึงจะออกเสียงเป็นพยางค์หนึ่งได้ ดังนี้คือ (๑) ต้องมีสระซึ่งนับว่าเป็นพื้นเสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ (๒) ต้องมีพยัญชนะเพื่อเป็นเครื่องหมายใช้แทนเสียงที่ปวนแปรไปต่าง ๆ ตามนิยมของภาษา จึงจะออกเสียงได้ตามลัทธิในภาษาไทย (๓) อย่างต่ำก็ต้องมีตัว อ ซึ่งออกเสียงเป็น อะ อา, กะ กา เช่นนั้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ต้องนับว่าเป็นเสียงวรรณยุกต์ ดังอธิบายแล้ว เพราะฉะนั้นพยางค์หนึ่ง จึงต้องมีอักษรประสมกันตั้งแต่ ๓ ส่วนขึ้นไป