หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/36

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๖

พยัญชนะต้น

ข้อ ๒๗.  พยัญชนะต้น คือพยัญชนะตัวแรกที่ประสมกับสระ ทำให้อ่านออกเสียงแปรออกไปต่าง ๆ บางทีก็มีตัวเดียว บางทีก็มี ๒ ตัว ๓ ตัวประสมกัน พยัญชนะต้นที่มีตัวเดียวนั้น ย่อมเห็นได้ตามมาตราทั้ง ๙ ที่อธิบายมาแล้ว เช่น กา ตี กาง กาก ขาย ขาม ขาง เป็นต้น บางทีก็เพี้ยนไปบางตามที่เปลี่ยนแปลงหรือลดรูปสระเสีย เช่น จรลี, สมณะ ซึ่งควรเป็น จอ-ระ-ลี, สะ-มะ-ณะ จะอธิบายในส่วนสระ

พยัญชนะประสม

ข้อ ๒๘.  พยัญชนะที่ประสมกัน ๒ ตัว อยู่ในสระเดียวกันเรียกว่าพยัญชนะประสม ตามภาษาเดิมหรือภาษาอื่นเขาอ่านเสียงกล้ำกันเป็นพยางค์เดียว แต่ในภาษาไทยอ่านต่าง ๆ กัน บางทีก็เป็นแต่สักว่ารูปเป็นพยัญชนะประสม แต่อ่านเรียงกันเป็น ๒ พยางค์อย่างมีสระประสมกันอยู่ด้วย เช่น พยาบาท อ่าน พะ-ยา-บาท มัธยม อ่านว่า มัด-ธะ-ยม ฯลฯ บางทีก็อ่านกล้ำเป็นเสียงสระเดียวตามแบบเดิม เช่น กรีฑา, ปราสาท ฯลฯ เพราะฉะนั้นในภาษาไทย ท่านจึงแบ่งพยัญชนะประสมออกเป็น ๒ พวก ดังนี้

(๑)  อักษรนำคือพยัญชนะ ๒ ตัวเรียงกันประสมสระเดียว แต่ออกเสียงเป็น ๒ พยางค์ คือ พยางค์ต้นเหมือนมีสระประสมอยู่ด้วย พยางค์ที่ ๒ ออกเสียงตามสระที่ประสมอยู่ และพยางค์ที่ ๒ นี้ถ้าเป็นอักษรเดี่ยว ต้องออกเสียงวรรณยุกต์และผันตามตัวหน้าด้วย เช่น แสม สะ-แหม, จรัส