หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/37

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๗

อ่าน จะ-หรัส เป็นต้น เว้นแต่ตัว ห นำอักษรเดี่ยวหรือตัว อ นำตัว ย ไม่ต้องออกเสียงตัว ห และตัว อ เป็นแต่ออกเสียงและผันตัวหลังตามตัว ห และตัว อ เท่านั้น เช่น หงอ หญ้า ไหน อย่า อยู่ เป็นต้น ถ้าตัวหน้าเป็นอักษรต่ำก็ดี หรือตัวอักษรหลังไม่ใช่อักษรเดียวก็ดี ก็ไม่เปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์ ปรากฎแต่รูปเป็นอักษรนำเท่านั้น แต่อ่านอย่างเดียวกับคำเรียงพยางค์ เช่น พยาธิ อ่าน พะยาธิ, มัธยม อ่าน มัดธะยม เป็นต้น

คำจำพวกหนึ่งมีสระประสมทั้งสองพยางค์ แต่อ่านพยางค์เป็นเสียงวรรณยุกต์อย่างตัวหน้าคล้ายอักษรนำ เช่น ดิลก อ่าน ดิ-หลก, ประโยค อ่าน ประโหยค เป็นต้น คำเหล่านี้เป็นพิเศษจะนับว่าอักษรนำไม่ได้

(๒)  อักษรควบ คือพยัญชนะที่ควบกับตัว ร, ล, ว, มีเสียงกล้ำเป็นสระเดียวกัน มี 2 อย่างคือ (ก) อักษรควบแท้ได้แก่อักษรควรที่ออกเสียงเป็นพยัญชนะทั้งสองตัว เช่น กรู, กลด, กว่า, ฯลฯ (ข) อักษรควบไม่แท้ได้แก่อักษรควบที่ออกเสียงแต่ตัวหน้าตัวเดียวบ้าง ออกเสียงกลายเป็นตัวอื่นไปบ้าง เช่น จริง, สรวม, ไซร้, ทราบ, ทรง, ทราม, ทราย เป็นต้น อักษรควบนี้กำหนดเสียงวรรณยุกต์ และวิธีผันตัวอักษรตัวหน้าอย่างอักษรนำเหมือนกัน

พยัญชนะที่ประสมกับตัว ร ล ว นี้ ถ้าอ่านเป็นเสียงสองพยางค์ ก็ไม่นับว่าเป็นอักษรควบ เช่น อร่อย อ่าน อะ-หร่อย, ตลาด อ่าน ตะ-หลาด, ตวาด อ่าน ตะ-หวาด ฯลฯ ดังนี้ต้องนับว่าเป็นอักษรนำ