หน้า:หลักภาษาไทย อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณะ.pdf/38

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๘

ส่วนสระ

ข้อ ๒๙.  สระ ๓๒ ที่ประกอบขึ้นด้วยรูปสระ ๒๑ นั้น เมื่อประสมกับพยัญชนะเป็นมาตราทั้ง ๙ แม่นั้น ย่อมมีรูปผิดเพี้ยนไปจากเดิมบ้าง ดังนั้น

(๑)  ในแม่ ก กา โดยมากสระคงที่ แต่มีเปลี่ยนแปลงบ้าง คือ:-

สระอะ โดยมากประวิสรรชนีย์ แต่บางคำลดวิสรรชนีย์ออกเสีย เช่น ณ ธ ทนาย พนักงาน อนุชา ฯลฯ

สระอือ ต้องเติมตัว อ เข้าด้วย เช่น มือ คือ ถือ ฯลฯ

สระเอาะ เมื่อประสมกับตัว ก ได้ไม้โท ต้องลดรูปสระหมด ใส่แต่ไม้ไต่คู้ข้างบนดังนี้ ก็ (เก้าะ) (แปลกอยู่คำเดียวเท่านั้น)

สระออ โดยมากมีตัว อ เคียง แต่บางคำลดตัว อ เสีย เช่น บ, บ่ (ไม่), จรลี, ทรกรรม ฯลฯ

สระอัว คงรูปตามเดิม แต่หนังสือโบราณเปลี่ยนไม้ผัดเป็นตัว ว อย่าง ว หัน ก็มีบ้าง เข่น ท่วว, ตวว, หวว ฯลฯ

(๒)  ในมาตราตัวสะกดทั้ง 8 แม่ มีวิธีเปลี่ยนรูปสระเป็นแบบเดียวกัน แต่ต่างกันออกไปจากแม่ ก กา มาก ดังนี้

สระอะ เปลี่ยนวิสรรชนีย์ (๑) ไม้ผัด เช่น กัก กัง กัน ฯลฯ (ถ้าตัว ว สะกดใช้แต่ในภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น อัว๎หย อ่าน เอาหยะ แต่ไทยใช้สระเอาแทน) (๒) เป็นอักษรหันซึ่งเรียกว่า ก หัน, ง หัน, ร หัน, ฯลฯ ตามตัวสะกด เช่น ตกก ตงง นนน