มักประดับมุกด์ล้วน ของขุนนางมักประดับมุกด์แกมเบื้อ[1] ในนั้น แถวหน้าตั้งเชิง ๕ เชิง เป็นเชิงเทียน ๔ เชิงธูปอยู่กลาง ๑ แถวในตั้งพานดอกไม้ ๔ พาน (สันนิษฐานว่า เดิมเห็นจะเป็นพานดอกไม้ ๒ พาน เข้าตอก ๒)
อย่างที่ ๓ เป็นเครื่องบูชาอย่างน้อย มีเชิงเทียน ๑ เชิงธูป ๑ พานหรือถ้วยใส่ดอกไม้ ๒ (สันนิษฐานว่า เดิมจะเป็นพานดอกไม้ ๑ พานเข้าตอก ๑) แต่เครื่องรองใช้ผิดกันตามชนิดบุคคล
ถ้าเป็นพระภิกษุสงฆ์ ใช้กระบะเชิงอย่างเล็กเช่นถวายในบริขารบวชนาคแลบริขารกฐิน พระมักใช้เครื่องบูชาอย่างนี้เมื่อนั่งวิปัสนา จึงเรียกกันอิกอย่างหนึ่งว่า "เครื่องบูชาวิปัสนา" (ดู รูปที่ ๖)
ถ้าเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ทางฝ่ายคฤหัสถ์ เครื่องรองมักใช้พาน แต่ผู้หญิงมักชอบใช้กระบะไม่มีเชิง (ดู รูปที่ ๗)
รองลงไปจากที่กล่าวมา ก็มีแต่เทียนดอก ๑ ธูปดอก ๑ ดอกไม้ช่อ ๑ (หรือกระทง ๑) ถือไปปักแลวางณะที่ซึ่งเขาเตรียมไว้รับในที่มีงาน
ที่สมมตว่า เครื่องบูชาชนิดนี้เป็นอย่างไทยแกมจีนนั้น เพราะความคิดที่จัดเป็นเครื่องบูชาเป็นความคิดไทย แต่กระบวนที่จัดเอาอย่างมาจากที่จีนเขาจัดตั้งเครื่องแต่งเรือน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ลายฮ่อ" ซึ่งจีนชอบเขียนฉากแลเขียนเป็นลายแจกันแลของเครื่องถ้วยชามอย่างอื่น
- ↑ กระบะเชิงมุกด์แกมเบอของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ยังอยู่ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณนคร) ผู้เป็นหลาน