อุปราช" แลมีเรื่องในพระราชพงศาวดารประกอบกฎหมายนี้แห่งหนึ่ง คือ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงตั้งพระอาทิตยวงศ์ให้เป็นรัชทายาทเมื่อไปครองเมืองพิษณุโลก มีพระนามตามที่เรียกในฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่า "สมเด็จหน่อพุทธางกูรเจ้า" ในหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพิมพ์สองเล่มเรียก "สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร" แต่งพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเรียก "สมเด็จพระบรมราชามหาพุทธางกูร" ที่ถูกข้าพเจ้าเห็นว่า ควรจะเป็น "หน่อสมเด็จพระพุทธเจ้าพระบรมราชา" คือ ตั้งให้เป็น "หน่อสมเด็จพระพุทธเจ้า" ตามกฎหมายนี้เอง มีพระนามที่เป็นเจ้าครองเมืองว่า "พระบรมราชา" อย่างได้เคยมีมาแต่ก่อนหลายพระองค์ แต่การตั้งพระมหาอุปราชในพระราชพงศาวดารปรากฏครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อทรงตั้งพระราชโอรสซึ่งฉบับหลวงประเสริฐฯ เรียกว่า "พระเชษฐา" คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ให้เป็นพระมหาอุปราช แต่คำที่ใช้ในหนังสือพระราชพงศาวดารเห็นจะยุติเอาเป็นแน่ไม่ได้ว่า องค์ไหนเป็นหน่อสมเด็จพระพุทธเจ้า องค์ไหนเป็นพระมหาอุปราช เพราะเป็นของแล้วแต่ผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารจะเขียนลงไปตามความเข้าใจของตน
ในกฎหมายทำเนียบศักดินาพลเรือน ซึ่งตั้งในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเหมือนกัน ยังมีตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ถือศักดินาหนึ่งหมื่นคนหนึ่งเรียกว่า "เจ้าพระยามหาอุปราชชาติวรวงศ์ องค์ภักดีบดินทร์ สุรินทรเดโชชัย มไหศุริยศักดิอาญาธิราช" ขุนนางตำแหน่งนี้ได้พบ