หน้า:เทศาภิบาล - ดำรง - ๒๔๙๘.pdf/23

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๘

จึงถือกันว่า ท้องพระโรงเป็นที่ศึกษาราชการของข้าราชการทั้งปวงอันมีตำแหน่งเฝ้าในท้องพระโรง

แต่ต่อมา ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อมีกิจเกี่ยวข้องกับรัฐบาลฝรั่งต่างประเทศมากขึ้น จึงเริ่มกำหนดราชการเป็น ๒ ประเภทต่างกัน คือ ราชการอันควรเปิดเผย ประเภท ๑ ราชการอันไม่ควรเปิดเผย ประเภท ๑ อ่านใบบอกกราบทูลในเวลาเสด็จออกขุนนางแต่ราชการประเภทเปิดเผย ถ้าเป็นราชการประเภทที่ไม่เปิดเผย ให้ทำเป็นจดหมายบันทึกทูลเกล้าฯ ถวาย ถ้าจะทรงปรึกษาหารือเสนาบดีคนไหน ก็มีรับสั่งให้หาเข้าไปเฝ้าในที่รโหฐาน เมื่อข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก เคยเห็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อยังเป็นสมุหพระกลาโหม เข้าเฝ้าอย่างนั้นเนือง ๆ จดหมายบันทึกที่คัดเขียนในสมุดดำเหมือนอย่างใบบอกที่อ่านในท้องพระโรง แต่มีดินสอขาวเหน็บไปกับใบปกสมุดสำหรับทรงเขียนลายพระหัตถ์ ตรัสสั่งแล้วส่งกลับออกมา วิธีกราบทูลราชการหัวเมืองจึงเกิดเป็น ๒ อย่าง คือ อ่านกราบทูลในเวลาเสด็จออกขุนนาง อย่าง ๑ กับเขียนเป็นจดหมายบันทึกทูลเกล้าฯ ถวาย อย่าง ๑ ต่อมา ขนบธรรมเนียมในราชสำนักเปลี่ยนมาโดยลำดับ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวมีราชกิจอย่างอื่นมากขึ้น ไม่มีเวลาจะเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรงได้วันละ ๒ ครั้งเหมือนอย่างโบราณ ราชการต่าง ๆ ที่เจ้ากระทรวงกราบบังคมทูลจึงใช้เป็นจดหมายและดำรัสสั่งด้วยลายพระหัตถเลขามากขึ้น

ถึงรัชกาลที่ ๕ ประเพณีที่เสด็จออกขุนนาง เสด็จออกแต่เวลาบ่ายวันละครั้งเดียว และไม่มีการปรึกษาหารือราชการในเวลาออกขุนนางเหมือนอย่างแต่ก่อน เสนาบดีก็เลยไม่เข้าไปเฝ้าในเวลาเสด็จออกขุนนาง การอ่าน