ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:แผนพัฒนาการเมืองฯ (พป).pdf/183

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒๕
ผู้ทรงเปนประธาน รับสั่งว่า ถ้าได้คนที่มิได้อยู่ในตำแหน่งราชการมาเข้าที่ประชุมก็เปนการดีเหมือนกัน มีพระราชประสงค์จำนงหมายว่า การตั้งเปนองคมนตรีนั้นจะไม่ให้เปนบำเหน็จสำหรับข้าราชการในตำแหน่ง จะทรงตั้งราษฎรก็ได้ แต่มี condition ว่า ต้องเปนคนที่ไว้วางพระราชหฤทันและมีคุณวุฒิความรู้ ทรงเสนอ Resolution ดังต่อไปนี้
"ที่ประชุมเห็นว่า ตามที่มีพระราชประสงค์จะ"
"ให้มีสภาองคมนตรีขึ้นเปนที่ประชุมปรึกษา"
"ราชการขึ้นอีกคณะ ๑ นั้น เปนการชอบแล้ว"
กรรมการทุกคนลงมติเห็นชอบด้วย.
พระยาสุรินทราชา ว่า ถ้ามีประชุมเปนจำนวนมาก คนเกิดมาเถียงกันอย่าง(ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก) ๆ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เห็นควรเลือกสรรมาประชุม.
ผู้ทรงเปนประธาน รับสั่งว่า มีพระประสงค์ที่จะให้ที่ประชุม command respect แก่ประชาชน จริงอยู่องคมนตรีบางคนไม่ command respect เลย หวังพระทัยว่า จะไม่เปนการดูหมิ่นที่กล่าวเช่นนั้น ถ้ามีคนที่ไม่เหมาะอยู่ในที่ประชุม และราษฎรเห็นว่า คนเช่นนั้นยังนั่งอยู่ในที่ประชุมได้ ก็คงไม่เชื่อถือเลย
หม่อมเจ้าสิทธิพร ว่า ใครจะเลือก? พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือก ฤๅเลือกกันเอง ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกตั้ง ก็อาจเปนคนเช่นนั้นอีกได้ ขอให้ทำ Resolution ว่า
"ที่ประชุมเห็นควรให้องคมนตรีเข้าประชุมทุกคน"
"ไม่ต้องมี limit."
พระยาสุรินทราชา ว่า กรรมการควรเลือกจากบรรดาองคมนตรีให้มาปรึกษากัน และให้องคมนตรีอื่น ๆ มานั่งฟังได้ แต่ไม่ให้แสดงความเห็น.
หม่อมเจ้าสิทธิพร ทรงเห็นว่า จะยุบองคมนตรีแล้วตั้งใหม่ ฤๅเลือกใหม่ ฤๅคัดเลือกมาประชุม ก็ย่อมมีความเสียใจเหมือนกัน และบางที คนดี ๆ อาจหลุดไปก็ได้.
/เจ้าพระยา