หน้า:แผนพัฒนาการเมืองฯ (พป).pdf/185

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒๗
กำหนดเวลาประจำ นอกจากนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งใหม่อีกเท่าไรก็ได้.
 พระองค์เจ้าธานีฯ, เจ้าพระยาธรรมศักดิ์, พระยาสุรินทราชา, พระยาจินดาภิรมย์, พระยาเทพวิทุรฯ, พระยาโกมารกุลมนตรี รวม ๖ เห็นพ้องกันว่า เลือกจากจำนวนองคมนตรี มีกำหนดเวลาประจำ เปนเสียงข้างมาก จึงเปนอันตกลงตามข้อหมาย (๓).
 หม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ เห็นว่า ควรยุบทั้งหมดแล้วตั้งใหม่
ปรึกษาร่างพระราชบัญญัติองคมนตรี  เมื่อได้ตกลงกันในข้อที่สภากรรมการนี้จะเปน consultative body และควรเลือกตั้งสภากรรมการจากจำนวนองคมนตรี มีกำหนดเวลาประจำแล้ว ที่ชุมนุมได้ตรวจร่างพระราชบัญญัติที่พระยาจินดาภิรมย์ร่างขึ้น.
มาตรา ๑ และ ๒  ผู้ทรงเปนประธาน ทรงอ่านร่างพระราชบัญญัติ ไม่มีใครทักท้วงความในมาตรา ๑ และ ๒ คงไว้ เพราะเปนแบบพระราชบัญญัติ
มาตรา ๓  พระยาจินดาภิรมย์ อธิบายว่า ประโยคท้ายแห่งมาตร ๓ ที่ร่างไว้นั้น ก็เพื่อให้องคมนตรีที่มีอยู่แล้วไม่ต้องเสียประโยชน์ที่ตนได้รับแล้ว.
 ที่ประชุมเห็นว่า ไม่จำเปนนัก ตกลงตัดประโยคท้ายว่า “แต่ไม่ได้เลิกถอนการอันใดที่ได้ทำไปแล้วตามความในพระราชบัญญัติเดิมนั้น” ออกเสีย.
มาตรา ๔  ผู้ทรงเปนประธาน รับสั่งว่า ความในมาตรา ๔ ที่ว่า จะทรงเลือกสรรพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลลอองธุลีพระบาทเปนองคมนตรีนั้น ทรงเห็นว่า แคบไป เพราะมีพระราชประสงค์ที่จะทรงตั้งราษฎรเปนองคมนตรีด้วยก็ได้ ถ้าเปนผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยและมีคุณวุฒิ เพราะฉนั้น ทรงเห็นควรแก้ให้กว้าง และคุณวุฒิที่อธิบายไว้ในมาตรา ๑๒ นั้น ก็ควรคัดออก เพราะเปนการบังคับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเลือกอยู่.
 ที่ชุมนุมตกลงแก้เปนความว่า "ทรงเลือกจัดสรรบุคคลใด ๆ ซึ่งทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เปนผู้ทรงคุณวุฒิ
/สามารถ