ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:แผนพัฒนาการเมืองฯ (พป).pdf/187

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒๙
ลาออกได้ ถ้าเปน working body ผู้ประจำการก็ไม่มีปัญหา ถ้าผู้ที่สติปัญญาไม่ดีลาออก ก็ให้โอกาศคนใหม่เข้ามาได้
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ว่า ผู้ที่ทำการในสภากรรมการลาออกได้ก็พอแล้ว ไม่เห็นควรแก้ความในมาตรา ๗ นี้ เพราะว่าจะได้ช่วยการสืบราชสันตติวงศ์ให้แรงขึ้น.
หม่อมเจ้าสิทธิพร ว่า ถ้าสภากรรมการนี้เปน consultative body แล้ว ก็ไม่ควรคิดถึง constitution.
ผู้ทรงเปนประธาน ทรงเห็นว่า เมื่อสิ้นแผ่นดินลง ให้องคมนตรีคงอยู่ในตำแหน่งจนกว่าพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่จะตั้งใหม่ภายใน ๖ เดือน ดูก็ดีแล้ว เปนความมุ่งหมายตามพระราชบัญญัติเดิม ถ้าไม่ทรงตั้งใหม่ ก็เปนอันหลุดไป.
ที่ชุมนุมเห็นชอบด้วยว่า ให้คงเอาไว้.
มาตรา ๘ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ว่า มาตรา ๘ ให้กราบบังคมทูลเหตุการณ์โดยเร็วนั้น เห็นว่า ไม่เปนพระเกียรติยศ รักให้พูดกว้าง ๆ เช่น พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้องคมนตรีกราบบังคมทูลความรู้ความเห็นได้โดยตรงสุดแล้วแต่ discretion ของเขา.
ผู้ทรงเปนประธาน รับสั่งว่า จะเพจทูลไปทุกสิ่งทุกอย่าง ดูกระไรอยู่ แต่ก็มีบางคนทำ ทรงเห็นว่า ถ้ามีความเห็น opinion ที่เปนประโยชน์ กราบบังคมทูลให้ทรงทราบไว้ ก็เปนการดี.
ที่ชุมนุมได้ตกลงแก้มาตรา ๘ เปนความว่า "องคมนตรีคนใดมีความรู้ความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งสมควรจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กราบบังคมทูลได้โดยตรง".
มาตรา ๙ ผู้ทรงเปนประธาน รับสั่งว่า มาตรา ๙ ว่าด้วยล้มละลายต้องถอดนั้น เปนปัญหา เช่น สมเด็จพระราชปิตุลาฯ และกรมพระดำรงฯ ทรงเห็นว่า การล้มลายเปนการ
/ช่วย