หน้า:แผนพัฒนาการเมืองฯ (พป).pdf/221

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ความเห็นส่วนน้อย เรื่องข้อที่ว่า
สภากรรมการองคมนตรีควรเปน Advisory หรือ
Consultative body

คำ "ที่ปฤกษา" ในภาษาไทย อาจจะใช้เปน Consultative หรือ Advisory body ก็ได้ แต่ตามร่างพระราชบัญญัติใหม่ มาตรา ๑๓ ต้องเข้าใจว่า เปน Consultative โดยตรง

เมื่อมาคิดถึงความมุ่งหมายในการแก้ไขพระราชบัญญัติคราวนี้ คือ เพื่อประสงค์จะเดินไปทาง Democracy แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า เปน Consultative body ตามมาตร ๑๓ นั้น ไม่ใคร่เป็นอันก้าวหน้าไปหาความมุ่งหมายเท่าใด โดยเหตุที่สภากรรมการไม่มีอำนาจจะประชุมกันเองได้

ในคราวชุมนุมครั้งหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดถึง "ข้ออันตราย (danger) ซึ่งอาจจะมีต่อแผ่นดินได้ ถ้าพระมหากระษัตริย์ไม่ทรงไว้ซึ่งสติปัญญาดี เพราะฉนั้น ประเทศอื่น ๆ จึงได้มีการหน่วงพระราชอำนาจ"

ถ้าจะคิดไปถึงรากและต้นเหตุ Democracy ก็เกิดจากการหนวงอำนาจของพระมหากระษัตริย์นั่นเอง จนถึงเลิกพระมหากระษัตริย์กันก็มี ในประเทศสยาม ไม่ต้องสงสัยว่า Monarchy เปนวิธีปกครองที่เหมาะกับราษฎร์ ทั้งเปนที่นิยมด้วย และยังจำต้องเปน Absolute Monarchy ไปอีกนาน แต่ถ้ามีหนทางกันข้ออันตรายต่อแผ่นดินซึ่งอาจจะมีขึ้นได้ในภายหน้าโดยไม่เปลี่ยนวิธีปกครอง (Constitution) ถึงแม้จะเปนหนทางหรือช่องอย่างแคบก็ยังดีกว่าไม่มีเสียเลย และอาจจะนับได้ว่า เปนก้าวหน้าไปหาความมุ่งหมาย คือ Democracy แม้แต่เปน(ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก)ก้าวอันสั้น

สมมุติว่า มีพระมหากระษัตริย์ซึ่งเมื่อครองราชสมบัติมีความตั้งพระราชหฤทัยดี ทรงตั้งองคมนตรีเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัย แต่ต่อมาภายหลัง พระสติฟั่นเฟือนไป ราชการแผ่นดินเสื่อมเสียลงเปนลำดับ หรือ

สมมุติว่า พระมหากระษัตริย์ เมื่อครองราชสมบัติ พระชันษายังย่อมเยาว์ จำต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (Regency) ซึ่งในชั้นแรกเปนผู้ตั้งใจดีต่อราชการ แต่อยู่มาไม่ช้า มีการแผ่อำนาจเกินส่วน (abuse his power) จนใกล้อันตรายต่อแผ่นดิน

/ใน