หน้า:แม่ย่า - สฐกศ นคปท - ๒๔๘๑.pdf/30

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
ราชาวดี

เมื่อในรัชชกาลที่ ๓ มีชาวอังกฤษชื่อ เซอร์เจมสบรุ๊ก เป็นราชทูตเข้ามาเจรจาการเมืองเรื่องขอแก้อัตราภาษีศุลกากร ท่านเซอร์ผู้นี้ปากตลาดเรียกว่า เยสัปบุรุษ ทำไม เจมสบรุ๊ก ถึงกลายมาเป็น เยสัปบุรุษ ก็เพราะเจมสบรุ๊กเป็นเสียงฝรั่งที่แปลกหูไทยและแปลไม่ได้ความ จึงต้องแก้เสียงให้เข้ารูปที่ชินหูและพอแปลได้ความ คือ แก้เป็น เยสัปบุรุษ

ฤษีกไลโกฏที่ในรามเกียรติ์ว่า แกโง่เสียหมดดี จนไม่รู้จักว่า ผู้หญิงเป็นพวกอะไร บางทีจะเป็นเพราะแปลกไลโกฏไม่ออก เลยแก้เป็นบรรลัยโกฏไป อย่างนี้เป็นเรื่องลากเข้าความโดยแก้รูปเสียงให้แปลได้

สัปเหร่อ จะมาจากภาษาอะไรหรือว่าจะเป็นคำไทยแท้ก็ไม่ทราบ เมื่อนึกถึงสัปเหร่อ ก็นึกถึงผีขึ้นมาทันที ก็ผู้ไม่เกลียดผีกลัวผีมักถือกันว่า เป็น "ผู้ตัดขาด" เป็นผู้มีใจสงบแล้ว แม้กระทั่งซากคนก็ไม่รังเกียจหวาดหวั่น เพราะฉะนั้น สัปเหร่อ ก็เท่ากับ สัปบุรุษ เพราะ สัปบุรุษ แปลว่า