หน้า:โกศ - นริศ - 1939.pdf/1

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เรื่องโกศ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
ทรงบันทึกประทานมา

อ่านบันทึกซึ่งเรียกชื่อว่า "ธรรมเนียมใส่โกศมาแต่ไหน" รู้สึกว่า ความในคำจารึกของจามนั้นทำให้แจ้งใจในคำ "โกศ" ขึ้นได้ว่า ทำขึ้นเพื่อใช้ครอบพระศิวลึงค์ จึงได้เรียกว่า "โกศ" ต้องเป็นโกศอัฐิ ไม่ใช่โกศศพ อันเคยสงสัยมาแล้วว่า โกศศพจะถ่ายขยายออกมาจากโกศอัฐิหรือมิใช่ แต่ก็เห็นว่า ไม่ใช่ เพราะโกศศพมีส่วนเตี้ยหว่าโกศอัฐิมาก โกศอัฐินั้นมีส่วนสูงสมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นเครื่องครอบพระศิวลึงค์ แต่ก่อนเคยคะเนว่า เดิมทีจะเอากระดูกใส่กล่องกลักเช่นกล่องพระสาส์นกลึงฐานต่อเข้าให้ตั้งได้ ด้วยกล่องนั้นย่อมทำปากผายอยู่เป็นปกติเช่นกล่องเข็มกล่องดินสอซึ่งทำใช้กันในการบวนนาคเปนต้น แต่คาดผิดไป ที่แท้จะเป็นไปตามความจารึกศิลาของจามนั้นเอง ทีแรกก็จะบรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าแผ่นดินก่อน เพราะถือว่า พระเจ้าแผ่นดินก็คือองค์พระเป็นเจ้า ย่อมบรรจุรวมกันได้ การถือว่า พระเจ้าแผ่นดินเป็นองค์เดียวกับพระเป็นเจ้านั้น ก็มาต้องกับประเพณีทางไทยเรา ซึ่งอาจเห็นได้จากขานพระนามพระเจ้าแผ่นดินว่า "สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว" แล้วทีหลังไม่ว่าอัฐิใครก็ใช้บรรจุด้วยโกศทั้งสิ้น ได้เคยเห็นโกศอัฐิฉลักด้วย