หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/103

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๓๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

มาจากที่ดินทั้งมวล แล้วจึงแบ่งปันมาให้ตนในรูปส่วยสาอากร นั่นคือระบบการขูดรีดของชนชั้นผู้ขูดรีดต้องเปลี่ยนไปตามความผันแปรของสภาพความเป็นจริงของการผลิตในสังคม การแจกจ่ายที่ดินจึงเป็นสิ่งจําเป็น และทางออกทางเดียวของชนชั้นผู้ขูดรีดของสังคมศักดินาไม่ว่าประเทศใด

ด้วยเหตุผลขั้นพื้นฐานสามข้อ (อย่างน้อย) ดังกล่าวนี้เอง ศักดินาใหญ่แห่งกรุงศรีอยุธยาจึงต้องดําเนินการจัดสรรที่ดินครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดําเนินงานจัดสรรปันส่วนและจํากัดขนาดที่นาในครั้งนั้นก็คือ "ขุนวัง" ผู้เป็นหัวหน้างานฝ่ายรักษาความมั่นคงของพระราชวัง (ที่อยู่ของตระกูลกษัตริย์) และผู้ชําระตัดสินคดีความส่วนกลาง ในที่นี้ ต้องเข้าใจด้วยว่าตามการปกครองของไทยในสมัยโบราณนั้น "ขุนวัง" เป็นผู้มีอํานาจในการบังคับบัญชาข้าราชการกว้างขวางที่สุด มีอํานาจที่จะตั้งศาลชําระความที่เกี่ยวเนื่องด้วยผู้คนในสังกัดของพระราชวังและกรมกองต่างๆ ที่ขึ้นตรงต่อพระราชวังได้ทุกกระทรวงและมีกรมต่างๆ อยู่ในบังคับบัญชามากที่สุด ผู้ที่รับราชการในตําแหน่งนี้ ต้องมีความสามารถพิเศษมากกว่าข้าราชการในกรมและกระทรวงอื่น๖๔ ด้วยความจริงข้อนี้เอง ขุนวังจึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสําคัญในการนี้ และก็ด้วยความดีความชอบนี้เอง หลังจากการจัดสรรแล้ว ตัวขุนวังเองก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น "เจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล" มีตําแหน่งเป็น "เสนาบดีกรมวัง" อันเป็นหนึ่งในจํานวนเสนาบดีทั้งหมดที่มีเพียง ๔ คน และได้รับส่วนแบ่งที่ดินหนึ่งหมื่นไร่ อันเป็นส่วนที่สูงที่สุดเท่าที่พวกข้าราชการจะได้รับ

ผลของการจัดสรรที่ดินและจํากัดขนาดที่ดินในครั้งนั้น ใน