หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/111

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๓๘  โฉมหน้าศักดินาไทย
ยาจก (คนจน) มีศักดินา ๕ ไร่
วณิพก (ขอทาน) มีศักดินา ๕ ไร่
ทาสและลูกทาส มีศักดินา ๕ ไร่

ไพร่หัวงาน คือ พวกไพร่ที่เป็นหัวหน้างานในการรับใช้ราชการและงานของพวกเจ้าขุนมูลนาย

ไพร่มีครัว คือ พวกไพร่ที่มีครัวอพยพในความควบคุม

ไพร่ราบ คือ พวกไพร่ธรรมดารวมทั้งพลเมืองทั่วไปที่เป็นคนงานธรรมดา

ไพร่เลว คือ พวกไพร่ชั้นต่ำ เป็นคนรับใช้ของคนอื่น มีฐานะดีกว่าทาสตรงที่มีอิสรภาพ, ดีกว่ายาจก (คนจน) ที่อดมื้อกินมื้อตรงที่มีนายเลี้ยง และดีกว่าวณิพก (ขอทาน) ตรงที่ไม่ต้องขอทานเขากิน

นี่คือฐานะที่แท้จริงของไพร่ทั้งปวง พวกนักพงศาวดารมักจะอ้างอย่างบิดเบือนเสมอว่า สามัญชนมีนาได้ ๒๕ ไร่ เป็นต้นว่าในหนังสือ "สยามปฏิวัติ" ภาคหนึ่งของ ม.ร.ว. ทรงสุจริต นวรัตน์ และในหนังสือ "ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ" ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่หลักฐานตามที่ปรากฏในพระอัยการตําแหน่งนาทหารและพลเรือนที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ กลับปรากฏความจริงว่า สามัญชนมีนาได้อย่างสูงสุดก็เพียง ๑๕ ไร่ คือในอัตราของไพร่ราบ ถ้าหากเป็นคนยากจนอันเป็นคนส่วนข้างมากแล้ว ก็มีได้เพียง ๕ ไร่เสมอกับทาส อย่างดีถ้าไปสมัครเป็นเลว (คนรับใช้) ของเจ้าขุนมูลนายเข้าก็มีนาได้เพียง ๑๐ ไร่เท่านั้น!

อีกข้อหนึ่งที่พวกนักพงศาวดารศักดินาทั้งปวงพยายามบิดเบือนอธิบายก็คือ ศักดินานั้นดั้งเดิมหาได้หมายถึงจำนวน