หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/115

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๔๒  โฉมหน้าศักดินาไทย
 

ที่เป็นขุนนางโดยสกุล แต่พวกนี้น้อยตัวที่จะได้รับสัญญาบัตรเป็นขุนนาง"๗๐ และมีที่บางคนที่ขยับเขยื้อนขึ้นไปเป็นขุนนางได้ ก็เป็นในขณะที่ชนชั้นศักดินาอยู่ในสภาพจนตรอกหมดตัวคนเข้าแล้วเท่านั้น องค์พยานของการผูกขาดตำแหน่งราชการไว้สำหรับชาติตระกูลศักดินานั้นจะเห็นได้จาก "ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ" ของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ มีความตอนหนึ่งว่า :

"ครั้นบัดเดี๋ยวนี้ พระราชาคณะ พระครู ฐานานุกรม เปรียญบางองค์ที่เป็นโลภัชฌาศัย (คือโลภเป็นสันดาน ผู้เรียบเรียง) ใจมักมากแสวงหาแต่ลาภสักการะแลยศแต่ถ่ายเดียว เที่ยวประจบฝากตัวในเจ้าขุนนาง ไว้ตัวเป็นคนกว้างขวางในกรมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า ด้วยคิดเห็นว่าท่านเหล่านี้มีบุญวาสนาจะช่วยกราบทูลให้สึกออกมาเป็นขุนนางในตำแหน่งกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า แห่งใดแห่งหนึ่งได้ ก็ซึ่งพระราชาคณะฐานานุกรมเปรียญรูปใด คิดดังนี้นั้นคงไม่สมประสงค์แล้ว อย่าคิดเลยเหนื่อยเปล่า เพราะว่าจะต้องพระราชประสงค์ แต่คนที่มีชาติตระกูลเป็นบุตรขุนนางในตำแหน่งกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า ไม่ต้องพระประสงค์คนชาววัดเป็นพระยา พระหลวง ขุน หมื่นในกรมมหาดไทย ฯลฯ"๗๑

ความจริงข้อนี้ ทำให้พวกชนชั้นศักดินาสามารถขูดรีดได้อย่างทนทานมั่นคง มีที่ดินเป็นทุนเดิมโดยไม่ต้องเดือดร้อนต่อการมิได้รับที่ดินจริงตามตำแหน่งพระอัยการ อีกประการหนึ่งศักดินาแม้จะไม่มีที่ดินจริงในชั้นหลังแต่ก็ยังมีอภิสิทธิ์ในการอื่นๆ ได้อีกมากอย่างเช่น ใช้ในการคำนวณอัตราเบี้ยหวัดเงินปี อัตราปรับไหมและการว่าทนายแก้ต่างในโรงศาล (ศักดินา ๔๐๐ ขึ้นไปจึงว่าจ้างทนายแก้ต่างได้)๗๒ ดังนี้เป็นต้น ดังนั้นแม้กฏหมายศักดินาครั้ง