หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/116

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
โฉมหน้าศักดินาไทย  ๑๔๓ 

พระบรมไตรโลกนาถจะมาเป็นกฏหมายลมอย่างที่พวกศักดินาอ้างเสียในชั้นหลัง พวกชนชั้นศักดินาก็ไม่เดือดร้อน และดูเหมือนจะพอใจให้เป็นเช่นนั้นมากกว่าจะให้มีการเวนคืนแล้วแบ่งปันที่ดินใหม่ทุกรัชกาล

แต่อย่างไรก็ดี กษัตริย์ทุกรัชกาลก็ยังคงถืออำนาจเป็นเจ้าของที่ดินทั้งมวล มีสิทธิที่จะจับจอง ที่จะยกผืนดินให้ใครๆ ได้ตามความพอใจ ทั้งนี้ จะเห็นได้จาก "ประกาศร่างพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระเจ้าลูกเธอ" ของรัชกาลที่ ๔ เมี่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ดังต่อไปนี้ :

"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๔ ในพระบรมวงศ์ปัจจุบันนี้ ขอประกาศแก่ชนที่ควรจะรู้คำประกาศนี้ว่า ที่ท้องทุ่งริมคลองขุดใหม่ตั้งแต่บางขวางออกไปบ้านงิ้วรายนั้น เป็นแขวงเมืองนนทบุรี นครไชยศรี เดิมรกร้างว่างเปล่าหาผู้เป็ นเจ้าของไม่ ครั้นขุดคลองไปตลอดแล้ว ข้าพเจ้าได้สั่งเจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีว่าที่พระคลัง ผู้เป็นแม่กองขุดคลอง ให้จับที่ว่างเปล่านั้นเป็นที่นา อยู่แขวงเมืองนนทบุรีฝั่งเหนือ ๑,๖๒๐ ไร่ อยู่ในแขวงเมืองนครไชยศรีฝั่งเหนือ ๙,๓๙๖ ไร่ ฝั่งใต้ ๕,๑๘๔ ไร่ รวมเป็นที่นา ๑๖,๒๐๐ ไร่ แบ่ง ๕๐ ส่วน ได้ส่วนละ ๓๒๔ ไร่ เป็นที่นายาว ๑๐ เส้น กว้าง ๕ เส้น ๘ วา ที่นาทั้งปวงนี้ เพราะไม่มีเจ้าของมาแต่เดิม เป็ นที่จับจองของข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าขอยกส่วนที่ว่านั้นให้เป็นของบุตรชายข้าพเจ้าคนละส่วนบ้าง สองส่วนบ้าง ให้เป็นที่บ่าวไพร่ไปตั้งทำนา ฤๅจะให้ผู้อื่นเช่าทำก็ตาม"

ส่วนหนึ่งซึ่งจะมีสำคัญด้วยหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ข้าพเจ้ายอมยกให้...(ชื่อลูก)...ให้... จงเอาหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไปเป็นสําคัญ