และขอให้พระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีนำข้าหลวงไปรังวัด แล้วทำตราแดงให้เป็นสำคัญตามอย่างธรรมเนียมแผ่นดินเมืองเถิด"๗๓
หลักฐานนี้เป็นหลักฐานที่พวกศักดินาจะเถียงไม่ได้เลยว่าชนชั้นศักดินามิได้จับจองและแบ่งปันที่นากันและกันในหมู่ชนชั้นตนตามใจชอบ การแบ่งปันครั้งนี้ชนชั้นศักดินาทำอย่างแนบเนียนว่าตนได้ขุดคลองพบที่ดินว่างเปล่าจึงจับจอง แท้ที่จริงก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ร้างทิ้งอยู่จึงส่งแม่กองออกไปขุดคลอง ซึ่งจุดประสงค์ในการขุดก็หาใช่เพื่อระบายน้ำให้ประชาชนผู้ทำนาอื่นๆ ทั่วไปไม่ หากเพื่อระบายน้ำเข้าที่นาอันรกร้างนั้นสำหรับจะได้ทำให้มีค่าและทำนาได้ พอขุดเสร็จ พวกไพร่ยังไม่ทันได้จับจอง ชนชั้นศักดินาก็รีบจับจองแบ่งสรรปันส่วนกันเสียแล้ว! การทุกอย่างทำไปเพื่อรับใช้ชนชั้นศักดินาโดยเฉพาะวงศ์วานว่านเครือเนื้อหน่อของกษัตริย์ทั้งสิ้น!
ตกลงที่ดินดีมีคลองระบายน้ำก็ตกเป็นของชนชั้นศักดินาเสียทั้งสิ้นไม่มีเหลือไว้สำหรับทวยราษฎร์
มิหนำซ้ำในประกาศฉบับเดียวกันนั้นยังบอกไว้อีกว่า นาที่ยกให้ลูกๆ นี้ เป็นนาจับจองใหม่ อยู่นอกข่ายการเก็บค่านา ถ้านารายนี้ ยังเป็นของลูก ยังไม่ขายอยู่ตราบใดก็ "ขอยกค่านาให้แก่...(ชื่อลูก) ผู้เป็นเจ้าของนา" จะเก็บค่านาตรงนั้นได้ก็ต่อเมื่อเปลี่ยนมือซื้อขายทำตราแดง (โฉนด) ใหม่!!
การแบ่งสัดส่วนที่ดินยกให้แก่ข้าราชบริพารครอบครองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ครั้งใหญ่ยิ่งครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ก็คือการยกเขตแดนเมืองพระตะบองและเสียมราฐให้แก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๗!
"ครั้งนั้นทรงพระราชดำริว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ได้รั้งราชการกรุงกัมพูชาอยู่ช้านาน มีบำเหน็จความชอบแต่มิใช่พวก