หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/122

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๔๙ 

ศักดินาก็ยังเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของชนชั้นศักดินาที่จะจำกัดขนาดและปริมาณที่ดินของพวกไพร่ไว้และเป็นช่องทางที่พวกตนจะได้รวบกรรมสิทธิ์ที่ดินได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายเป็นเจ้าที่ดินใหญ่ "มีข้าไทใช้สอยค่อยสบาย" ถึงอย่างไรเสีย กฏหมายนี้ ก็มิใช่กฏหมายลมอยู่ดี

ด้วยเหตุผลที่กฏหมายศักดินามิใช่กฏหมายลมๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ กล่าวคือ รัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการจัดระเบียบศักดินาใหม่ครั้งใหญ่โดยตราออกเป็นกฏหมายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๓ อันเรียกว่าพระราชกำหนดตำแหน่งศักดินาบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในครั้งนี้ ได้รวบเอาอำนาจที่ดินเข้าไว้เป็นอภิสิทธิ์ของพระญาติพระวงศ์ของกษัตริย์มากขึ้นกว่าในสมัยอยุธยาหลายเท่า การกำหนดศักดินาใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีดังนี้ :

"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชดำรงศักดินา ๑๐๐,๐๐๐ สมเด็จพระเจ้าปัยกาเธอ สมเด็จพระอัยกาเธอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามีกรมแล้ว ทรงศักดินา ๕๐,๐๐๐ ยังไม่มีกรม ๓๐,๐๐๐ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอมีกรมแล้ว ๔๐,๐๐๐ ยังไม่มีกรม ๒๐,๐๐๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าน้องยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ ามีกรมแล้ว ๓๐,๐๐๐ ยังไม่มีกรม ๑๕,๐๐๐ พระเจ้าปัยกาเธอ พระเจ้าอัยกาเธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าราชวงศ์เธอ พระเจ้าน้องยาเธอ พระอัยยิกาเธอ พระราชวีรวงศ์เธอ และพระเจ้าน้องนางเธอมีกรมแล้ว ๑๕,๐๐๐ ยังไม่มีกรม ๗,๐๐๐ พระเจ้าลูกเธอมีกรมแล้ว ๑๕,๐๐๐ ยังไม่มีกรม ๖,๐๐๐ พระอัครชายาเธอ มีกรมแล้ว ๒๐,๐๐๐ ไม่มีกรม ๖,๐๐๐ พระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอและพระวรวงศ์เธอมีกรมแล้ว ๑๑,๐๐๐ ยังไม่มีกรม ๔,๐๐๐ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระประพันธวงศ์เธอและพระวรวงศ์เธอมีกรมแล้ว ๑๑,๐๐๐