หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/127

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๕๔  โฉมหน้าศักดินาไทย

มาก่อน๘๒ ในเมืองเขมรนั้น ธรรมเนียมนี้ทำกันแม้ในหมู่พวกขุนนางข้าราชการที่มั่งคั่งร่ำรวย ต่างคนต่างแข่งขันกันอุทิศที่ดินและทาสให้แก่วัดจำนวนมากๆ ทั้งนั้น เมื่อทำแล้วก็จารึกอักษรคุยอวดไว้ยืดยาวลงชื่อพวกทาสที่อุทิศให้ไว้นั้นๆ ด้วยครบทุกคน บัญชีชื่อพวกทาสจึงยาวเฟื้อยเป็นแถว ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการยกที่ดินยกทาสให้เป็นสมบัติและเครื่องแสวงหาผลประโยชน์ของวัด ก็คือการทำพิธีกัลปนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คนที่เคยกล่าวถึงมาครั้งหนึ่งแล้ว (พ.ศ. ๑๗๒๔-หลัง ๑๗๔๔) กษัตริย์องค์นี้คลั่งไคล้ในการสร้างวัดสร้างวาเอาเสียจริงๆ ได้สร้างวัดวาขึ้นมากมายนับยอดปรางค์ที่สร้างไว้ทั้งหมดได้ถึง ๕๑๔ ยอด วัดทั้งหมดที่ทรงสร้างไว้นี้ได้ทรงยกผลประโยชน์ทั้งมวลอันเกิดแต่หมู่บ้าน ๘,๑๗๖ หมู่ ที่อยู่รอบบริเวณวัดให้เป็ นผลประโยชน์ของวัด พร้อมกันนั้นได้ถวายทาสไว้เป็น "ข้าพระ" เพื่อดูแลวัดและทำการผลิตเพื่อนำผลประโยชน์มาบำรุงพระ จำนวนทาสทั้งสิ้นมี ๒๐๘,๕๓๒ คน ในจำนวนนี้ เป็นพวกนักฟ้อนรำบำเรอพระและรูปปฏิมารวมอยู่ด้วย ๑,๖๒๒ คน!๘๓ การอุทิศที่ดินผู้คนผลประโยชน์นี้ แหละที่เรียกว่า "พระกัลปนา" อันเป็นต้นกำเนิดของพิธีกัลปนาในเมืองไทย

ทีนี้ เราหันมาดูการทำพิธี "พระกัลปนา" หรือถวาย "พระกัลปนา" ในเมืองไทย การทำพิธีนี้ เราได้รับมาทำกันตั้งแต่สมัยทาส เดิมทีเดียวเป็นการยกทาสถวายวัด จึงได้เรียกพวกนั้นว่า "ข้าพระ" นั่นคือ "ทาสรับใช้พระ" มาภายหลังตกถึงสมัยศักดินาเปลี่ยนจากทาสมาเป็น "เลก" จึงได้เรียกว่า "เลกวัด" แต่ก็ยังมีที่เรียกข้าพระกันอยู่ตามเดิมทั่วไป

ตัวอย่างของการยกที่ดินและผลประโยชน์ให้แก่วัดก็คือ