หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/131

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๕๘  โฉมหน้าศักดินาไทย

เปลี่ยนดังปรากฏใน "ประกาศพระราชทานแลกเปลี่ยนที่วิสุงคามสีมาเมืองลพบุรี" ลงวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๓ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๔ (พ.ศ. ๒๔๐๕) ดังนี้

"จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสให้เจ้าพนักงานกรมพระเกษตราธิบดีจัดซื้อที่นาตำบลหนึ่งใหญ่กว่าที่พระราชวังนั้น แลใหญ่กว่าที่บ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ด้วยเพราะได้เห็นว่าที่บ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้น พระสงฆ์ได้เข้าไปอยู่ครอบครองเอาเป็นวัดในคราวหนึ่ง... ที่นาที่จัดซื้อนั้นจึงทรงพระราชอุทิศถวายในพระพุทธจักร เป็นของจาตุทิศสงฆ์แลกเปลี่ยนที่พระราชวังแลที่บ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์คืนมาเป็นของในพระราชอาณาจักร..." (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ น.๕๘)

ที่นาซึ่งรัชกาลที่ ๔ ซื้อถวายกัลปนาแลกเปลี่ยนเอาวังคืนมานั้น พระสงฆ์ผู้ครอบครองก็ให้ประชาชนเช่าทำนาเก็บผลประโยชน์เป็นรายปี ประกาศฉบับเดียวกันกล่าวต่อไปว่า

"ได้ยินว่าค่าเช่าได้ปีละ ๑๐ ตำลึง สองบาท สองสลึง (๔๒ บาท ๕๐ สต.) พระสงฆ์ในเมืองลพบุรีได้เก็บเป็นตัตรุปบาตบริโภคอยู่ทุกปี... ค่านาก็ไม่ได้เก็บเป็นหลวง..."

ที่ว่าค่านาก็ไม่ได้เก็บเป็นของหลวงนั้นหมายความว่า กษัตริย์ยกให้วัดเด็ดขาด ไม่เก็บภาษีที่ดินจากวัดอีกเลย ที่ดินของวัดเป็นอิสระจากอำนาจของกษัตริย์โดยสิ้นเชิง เป็นเสมือนที่ลอยๆ นั่นคือ "ทรงพระราชอุทิศกำหนดถวายเป็นวิสุงคามสีมาแขวงหนึ่ง ต่างหากจากพระราชอาณาเขต" (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๖ น.๕๕) โดยนัยนี้ ผลประโยชน์ที่วัดเก็บได้วัดได้เป็นกรรมสิทธิ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องแบ่งเป็นภาษีที่ดินให้รัฐต่อเหมือนที่เคยทำกันในยุโรป ประกาศนั้นได้อธิบายว่า