หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/133

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๖๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

นักบวชเป็นรายตัว หากแจกจ่ายให้แก่วัด วัดเป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์แล้วแบ่งปันกันในหมู่พระสงฆ์ตามลำดับศักดิ์อีกทอดหนึ่ง

โดยลักษณาการเช่นนี้ วัดในพระพุทธศาสนา จึงกลายสภาพเป็น "เจ้าที่ดินใหญ่" ไปโดยมาก ทางฝ่ายชนชั้นปกครองของศักดินาต้องเอาธุระเกื้อกูลดูแลพวกเลกวัดหรือข้าพระโดยยกไปเป็นหน้าที่ของกรมพระอาลักษณ์ ซึ่งมีตำแหน่งศักดินาเป็นกรมใหญ่ แต่ในภายหลังได้ย้ายไปเป็นหน้าที่ของ "กรมวัง" เท่าที่ปรากฏก็มีจำนวนมากมายอยู่ คือมี ข้าพระสิบสองพระอารามเป็นเบื้องแรก และต่อมาก็ได้พวกข้าพระในวัดต่างๆ ทั่วไปมาขึ้นต่อกรมวังอีกด้วย๘๘

ประเพณีการยกที่ดินกัลปนาวัดนี้ มิได้มีเฉพาะในพิธีของกษัตริย์แต่ผู้เดียว แม้พวกเจ้าพระยามหานครที่มั่งคั่งใหญ่โตก็ได้ปฏิบัติเหมือนกันทั้งสิ้น เช่นที่นครศรีธรรมราชในสมัยก่อนก็มี "กรมข้าพระ" อยู่ในระเบียบการปกครองเมืองด้วย๘๙

ประเพณีกัลปนาวัดอย่างโบราณนี้ แม้เดี๋ยวนี้จะยกเลิกไป แต่ทางปฏิบัติแล้วก็ยังคงมีการปฏิบัติที่คล้ายคลึง นั่นคือยังคงมีการพระราชทานที่เป็นวิสุงคามสีมาให้แก่วัดต่างๆ ซึ่งวัดเหล่านั้นได้ใช้เพื่อสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ และแบ่งให้ประชาชนเช่าเพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนพระสงฆ์ที่มียศศักดิ์และความรู้ในธรรมะก็ได้รับเงินเดือนเป็นค่านิตยภัต (ค่าอาหาร) แทนข้าวปลาอาหารที่เคยได้รับจากพวกเลกวัดในครั้งก่อน

ตามสถิติของกรมประชาสัมพันธ์เมื่อ ปี ๒๔๙๗ ปรากฏว่ามีวัดในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นถึง ๒๐,๙๔๔ วัดทั่วประเทศ ในจำนวนทั้งหมดนี้จะมีสักกี่วัดที่ได้รับพระราชทานที่เป็นวิสุงคามสีมา ไม่สามารถจะหาสถิติได้ (เฉพาะเวลาที่เขียนเรื่องนี้) เท่าที่หาได้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีการพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหนึ่ง จำนวนวัดที่