หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/14

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๔๑ 

หัตถกรรม รู้จักการประดิษฐ์หูกทอผ้าที่ก้าวหน้ากว่าเดิม การตีเหล็ก, ทอผ้า, จักสาน, การประดิษฐ์เครื่องใช้ไม้สอยและเครื่องอุปโภคอื่นๆ เจริญแพร่หลายขึ้น และมีเทคนิคประณีตขึ้น พวกชาวนาส่วนมากจึงมิได้ทำนาแต่อย่างเดียว หากได้ทำการหัตถกรรมควบคู่ไปด้วย ยุคศักดินาจึงเป็นยุคของการประสานงานระหว่างกสิกรรมและหัตถกรรมในครัวเรือนโดยทั่วไป ระบบผลิตเอกระของชาวนา กล่าวคือการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลขนาดย่อม และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ออกแรงทำงานด้วยโดยมิได้ขูดรีดแรงงานส่วนเกินของผู้อื่น ได้เริ่มมีบทบาทขึ้นในสังคมภายใต้ยุคศักดินานี้

๔) เจตนารมณ์ในการผลิต

การผลิตทั้งทางกสิกรรมและหัตถกรรมของชาวนาในยุคนี้ ส่วนมากเป็นการผลิตเพียงเพื่อให้พอกินพอใช้ตามความต้องการทางธรรมชาติ มิได้มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อการค้า แม้พวกเจ้าขุนมูลนายและพวกเจ้าที่ดินที่แบ่งปันขูดรีดผลิตผลไปเป็นส่วย, เป็นค่าเช่า, เป็นภาษี ก็เป็นการแบ่งปันขูดรีดไปเพื่อบริโภคเป็นส่วนใหญ่ การแลกเปลี่ยนค้าขายผลิตผล แม้จะมีอยู่บ้างก็เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนค้าขายผลิตผลที่เหลือกินเหลือใช้ และเพื่อสนองความต้องการอันจําเป็นของกันและกันเป็นสำคัญ ระบบการค้ากําไรเป็นลํ่ำเป็นสันแม้จะเริ่มพัฒนาไปบ้าง แต่ก็ยังหาได้มีบทบาทสำคัญในสังคมโดยทั่วไปอย่างจริงจังไม่

๕) ระบบการค้าผูกขาดของพวกเจ้าขุนมูลนาย

ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและการค้ากำไรอย่างเป็นลํา่าเป็นสันของยุคศักดินาได้ถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่เศรษฐกิจของศักดินา