ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/147

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๗๔  โฉมหน้าศักดินาไทย

เรือนนี้คือผู้ต้อง "พัทธยา" เมื่อตัวเองคอหลุดจากบ่าแล้ว บ้านช่องเรือกสวนไร่นาก็ต้องถูกริบเข้าเป็ นของพัทธยา โอนเข้าเป็ นของหลวงทั้งสิ้น ถ้าหากริบราชบาตร ก็หมายถึงริบหมดทั้งลูกเมีย บ่าวไพร่ผู้คน เอาเข้าบัญชีเป็นคนของกษัตริย์ทั้งสิ้น ลักษณะนี้เป็นลักษณะของโจรปล้นทรัพย์โดยตรง แต่ทว่าเป็นโจรปล้นทรัพย์ที่ใช้กฏหมายของตนเองเป็นเครื่องมือรักษาความเที่ยงธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ โทษฟันคอริบเรือนหรือริบราชบาตรจึงเป็นโทษที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป เฉพาะในกฏหมายอาญาหลวงแล้วดูเหมือนเกือบจะทุกมาตราและในบางมาตราก็วางโทษเอาไว้น่าขำ เช่น

"มาตราหนึ่ง ผู้ใดใจโลภนักมักทำใจโหญ่ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์กระทำให้ล้นพ้นล้ำเหลือบรรดาศักดิ์อันท่านให้แก่ตน แลมิจำพระราชนิยมพระเจ้าอยู่หัว (คือไม่ระวังว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงชอบอย่างไหน) และถ้อยคำมิควรเจรจาเอามาเจรจาเข้าในระหว่างราชาศัพท์ (คือใช้คำราชาศัพท์ผิดเอาคำไพร่มาใช้ปน) แลสิ่งของมิควรประดับเอามาทำเป็นเครื่องประดับตน (ตีเสมอเจ้า!) ท่านว่าผู้นั้นทะนงองอาจ ท่านให้ลงโทษ ๘ สถาน สถานหนึ่งให้ฟันคอริบเรือน ๑ สถานหนึ่งให้เอามะพร้าวห้าวยัดปาก ๑ สถานหนึ่งให้ริบราชบาตรแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ๑ สถานหนึ่งให้ไหม (ปรับ) จตุรคูณแล้วเอาตัวออกจากราชการ ๑ สถานหนึ่งให้ไหมทวีคูณ ๑ สถานหนึ่งให้ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที ๒๕ ที ใส่ตรุไว้ ๑ สถานหนึ่งให้จำไว้แล้วถอดเสียเป็นไพร่ ๑ สถานหนึ่งให้ภาคทัณฑ์ไว้ ๑ รวม ๘ ฯ" (อาญาหลวง พ.ศ. ๑๘๙๕, รัชกาลที่ ๑ ชำระมาตรา ๑)

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การยกทัพไปตีปล้นสะดมแย่งชิงเอาทรัพย์สินของศัตรูมาก็ดี กวาดต้อนผู้คนทรัพย์สมบัติประชาชนมาก็ดี เหล่านี้อยู่ในเกณฑ์ "พัทธยา" คือ ของได้เปล่าจากการ