บาท (๑๘ บาท) บ้าง หกเจ็ดตำลึง (๒๔-๒๘ บาท) บ้าง"
"มีความข้อหนึ่งเนื่องต่อการที่ชายฉกรรจ์ต้องมาเข้าเวรดังกล่าวมา ซึ่งคนทั้งหลายยังไม่รู้หรือเข้าใจผิดอยู่โดยมาก ควรจะกล่าวอธิบายแทรกลงตรงนี้ คือเมื่อตอนกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา รัฐบาลต้องการตัวเงินใช้จ่ายยิ่งกว่าได้ตัวคนมาเข้าเวร จึงยอมอนุญาตให้ไพร่ซึ่งไม่ปรารถนาจะเข้าเวรเสียเงิน "ค่าราชการ" เหมือนอย่างจ้างคนแทนตัวได้ เมื่อมาถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ค่าราชการต้องเสียปีละ ๑๘ บาท มีผู้สมัครเสียเงินค่าราชการแทนเข้าเวรเป็นพื้น"๙๕
"เงินค่าราชการ" นี้ เก็บเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อออกพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารขึ้นแล้วได้ปรับปรุงการเก็บเงิน "ค่าราชการ" เสียใหม่โดยออก "พระราชบัญญัติเก็บเงินค่าราชการ ร.ศ. ๑๒๐" (พ.ศ. ๒๔๔๔) การเก็บเงินคราวนี้ ได้พยายามเปลี่ยนชื่อเรียกเดิมที่ว่า "ค่าแรงแทนเกณฑ์" มาเป็น "ค่าราชการ" และวางอัตราใหม่ คือเก็บปีละ ๖ บาทจากทุกคนที่มิได้ถูกเกณฑ์ทหาร เก็บตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี ไปจนถึง ๖๐ ปี
ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ (รัชกาลที่ ๖) ทรงพระราชดำริว่า การเก็บเงินตามพระราชบัญญัติเก็บเงินค่าราชการ ร.ศ. ๑๒๐ นั้น ได้ปฏิบัติตามหลักแห่งการเก็บเงินส่วยแต่เดิมมา จึงมีบุคคลซึ่งได้รับความยกเว้นจากการเสียเงินเป็นจำนวนมากมายหลายประเภท สมควรจะแก้ไขให้ชายฉกรรจ์ทั้งปวงต้องเสียเงินโดยความเสมอภาคยิ่งขึ้น กับกำหนดระเบียบการสำรวจให้รัดกุมจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ "พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บเงินรัชชูปการ พุทธศักราช ๒๔๖๒"...๙๖
ด้วยเกรงว่าประชาชนจะไม่ได้เสียเงินหรือพูดให้ถูก "ถวาย