หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/154

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๘๑ 

อยู่ชายดงพระยาไฟ (คือดงพญาเย็นบัดนี้) หาดินมูลค้างคาว อันมีตามถ้ำที่ภูเขาในดงนั้น มาหุงดินประสิวส่งหลวงสำหรับทำดินปืน หรือเช่นยอมให้ราษฎรชาวเมืองถลางหาดีบุกอันมีมากในเกาะนั้น (เกาะภูเก็ต) ส่งหลวงสำหรับทำลูกปืนแทนแรงรับราชการ เป็นต้น อัตราส่วยที่ต้องส่งคงกำหนดเท่าราคาที่ต้องจ้างคนรับราชการแทนตัว"๑๐๐

พวกส่วยสิ่งของที่นำมาส่งหลวงตามอัตราทุกปี นี้ ถ้าหากพวกไพร่เกิดหาไม่ได้ก็ต้องจ่ายเงินชดใช้ให้หลวงตามจำนวนของที่ขาดไป หรือถ้าหาไม่ได้เลยก็ต้องใช้เงินทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ส่วยทองคำเมืองปักธงชัย (คืออำเภอปักธงชัยในจังหวัดนครราชสีมาปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พวกเลกหรือไพร่ที่ถูกเกณฑ์เป็ นพวกเลกส่วยทองคำ ต้องร่อนทองให้ได้คนละ ๒ สลึงทุกคน๑๐๑ แต่ปรากฏว่าทำไม่ค่อยได้ตามที่เกณฑ์ ต้องใช้เงินแทนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ส่วยทองคำลงมาจากเมืองปักธงชัย (รวมทั้งส่วยที่ค้าง) เป็นทองคำหนัก ๓ ชั่ง ๘ ตำลึง ๓ บาท (=๔๑.๒๕ กิโลกรัม) พร้อมกันนั้นก็ต้องส่งเงินใช้ค่าทองลงมาด้วย เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง ๗ ตำลึง ๓ บาท๑๐๒

ถึงส่วยดีบุก เมืองถลาง (ภูเก็ต) ถ้าไม่เอาดีบุกมาส่งต้องเสียเงินแทนคนละ ๑๐ บาท ไพร่เลว (เลวทาส) คนละ ๕ บาท ส่วยฝาง ถ้าไม่มีฝางส่งต้องเสียเงินแทนคนละ ๗.๕๐ บาท ไพร่เลว (เลวทาส) ๓.๗๕ บาท ส่วยหญ้าช้าง (ไพร่หมู่ตะพุ่น) ถ้าไม่เกี่ยวหญ้าส่งให้ช้างหลวงกินต้องเสียคนละ ๙ บาท (พระราชกำหนดเก่าบทที่ ๔๘)

สิ่งที่น่าจะทำความเข้าใจกันเสียในที่นี้ด้วยก็คือ นักพงศาวดารฝ่ายศักดินา มักพยายามอ้างอธิบายว่า ส่วยนั้นคือการ