หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/163

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๙๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

ครั้นเมื่อได้ทำสัญญาค้าขายกับอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ แล้ว มีกำหนดตามสัญญาว่า เรือกำปั่นใบ ๓ เสาต้องเสียตามขนาดกว้างของเรือวาละ ๘๐ บาท ถ้าสองเสาเสียกึ่งอัตรา ภาษีสินค้าขาเข้าคิดร้อยละ ๘ ส่วน ภาษีสินค้าขาออกมีอัตราเก็บตายตัวตามชนิดของสินค้า เช่น น้ำตาล ภาษีหาบละ ๒ สลึง เป็นต้น

ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ได้แก้ไขวิธีเก็บมาเป็นเก็บแต่จากขนาดเรืออย่างเดียว คือ ถ้าเรือมีสินค้าเข้ามาเก็บวาละ ๑,๗๐๐ บาท ถ้าเรือเปล่าเข้ามาซื้อของเรียกวาละ ๑,๕๐๐ บาท แล้วไม่เรียกจังกอบภาษีอย่างอื่นอีก ไม่เรียกค่าธรรมเนียมต่างๆ จากผู้ที่มาซื้ อขายกับอังกฤษตั้งแต่ก่อนด้วย

รายได้ของรัฐบาลศักดินาเกี่ยวกับ "จังกอบ" (หรือภาษีศุลกากร) นี้ เป็นเรื่องยืดยาวและพัวพันอยู่กับระบบการค้าผูกขาดของศักดินาอย่างใกล้ชิด จึงจะขอยกไว้กล่าวในตอนที่ว่าด้วยระบบการค้าผูกขาดของศักดินา ในที่นี้ ขอสรุปแต่พอเข้าใจว่า จังกอบคือภาษีศุลกากรเก็บทั้งภายในจากพ่อค้าแม่ค้าเล็กน้อยประจำวันไปจนถึงสินค้าเข้าออก

คราวนี้ประชาชนจะต้องถูกขูดรีดอย่างไรบ้าง การขูดรีดที่ได้รับจากรัฐบาลศักดินาก็คือ เมื่อปีนต้นมะพร้าวอยู่ที่บ้าน ก็ถูกเรียกอากรมะพร้าวไปเป็นภาษีที่ดิน คืออากรสวนเสียก่อนครั้งหนึ่ง ครั้งจะเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวก็ต้องไปแจ้งความกับเจ้าภาษีน้ำมันมะพร้าวว่า เดี๋ยวนี้ ฉันจะเคี่ยวน้ำมันแล้ว ออกใบอนุญาตให้หน่อยซิจ๊ะ เจ้าภาษีก็จะออกใบอนุญาตให้เรียกค่าธรรมเนียม (ฤชา) เสียด้วยตามธรรมเนียม มากน้อยขึ้นอยู่กับหน้าตาของผู้มาขออนุญาต ถ้าเซ่อมากก็แพงมาก พอได้ใบอนุญาตแล้วก็มาเคี่ยว้ำนมัน พอเคี่ยวเสร็จก็เอาลงเรือแจวเรือออดๆ มาจอดด่าน ที่ด่านเจ้าพนักงาน