๔ ได้กล่าวถึงความจริงข้อนี้ ไว้ว่า "ราษฎรเช่านาท่านผู้อื่นทำ ต้องเสียค่าเช่าให้เจ้าของนาด้วย ต้องเสียค่านาแทนเจ้าของนาด้วย"๑๐๙ ส่วนพวกเจ้าที่ดินที่เกณฑ์บ่าวไพร่และเลกทำนาของตนเอง พวกนี้ก็ต้องเสียอากรค่านา ซึ่งเป็นการเสียเพียงต่อเดียว ค่าแรงของพวกบ่าวไพร่หรือเลกไม่ต้องเสีย มิหนำซ้ำพวกเลกพวกไพร่จะต้องขนเอาไถเอาคราดวัวควายของตนมาทำนาให้เจ้าขุนมูลนายเสียอีกด้วยซ้ำ พวกเจ้าที่ดินในยุคศักดินาจึงได้สวาปามผลประโยชน์เต็มที่
การเก็บอากรค่านานั้น เดิมทีเดียวเรียกเก็บเป็ นข้าวเปลือก ประชาชนจะต้องส่งข้าวเปลือกให้แก่ฉางหลวงทุกปี ข้าวที่เก็บนี้ เรียกกันว่า "หางข้าว" หางข้าวที่จะเก็บขึ้นฉางหลวงนี้ ประชาชนจะต้องส่งด้วยเครื่องมือและกำลังของตนเองไปจนถึงฉางหลวง เจ้าพนักงานประจำฉางมีหน้าที่ "นั่งกระดิกตีนจดบัญชีรับหางข้าว" อยู่กับที่เท่านั้ นเอง มิหนำซ้ำยังใช้อำนาจบาตรใหญ่เอาแก่ประชาชนเสียอีกชั้นหนึ่งตามธรรมเนียมเหยียดหยามประชาชนของวัฒนธรรมศักดินาอีกด้วย ฉางหลวงที่ประชาชนจะต้องลำเลียงขนหางข้าวมาส่งนั้น มีทั้งฉางหลวงในกรุงฯ และฉางหลวงหัวเมือง ใครจะเอาไปส่งที่ฉางไหนนั้น ไม่มีกฏเกณฑ์แน่นอน ขึ้นอยู่กับความพอใจของพวกข้าหลวงที่จะบังคับเอา เรื่องที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนนี้ เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นตามหลักฐานโดยมีปรากฏในประกาศรัชกาลที่ ๔... "ราษฎรต้องขนมาส่งถึงฉางในกรุงฯ และฉางหัวเมืองตามแต่เจ้าพนักงานจะบังคับ ราษฎรได้รับความยากบ้างง่ายบ้างไม่เสมอกันที่ได้ความยากก็ร้องทุกข์กล่าวโทษข้าหลวงเสนา และเจ้าพนักงานไปต่างๆ ต้องมีผู้ตัดสินเป็นถ้อยความอยู่เนืองๆ" (ประกาศปี ชวด พ.ศ. ๒๔๐๗)
อากรหางข้าวที่เก็บมาแต่เดิมทีเดียวนั้น จะเป็นจำนวนไร่