หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/169

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๙๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

เสียไป ต้องมีโทษ พวกชาวนาที่จะบุกเบิกใหม่จะต้องขวนขวายไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานเสียแต่แรกว่าผมจะทำนาตรงนี้ ขอให้ออกโฉนดบอกปริมาณที่ดินและอากรที่จะต้องเสียให้ด้วย เวลาข้าหลวงเสนามาสำรวจเดินนา ผมจะได้มีหนังสือสำคัญแสดงแก่เขาว่า ผมพร้อมที่จะเสียภาษีไม่ตั้งใจหลบหนีเลย ตรงนี้ควรทราบเสียด้วยว่า เดิมทีเดียวการทำนาของประชาชนนั้นไม่มีหนังสือสำคัญอะไรชาวนาทำนาไป เจ้าขุนมูลนายก็ขูดรีดไป ต่อมาประชาชนทนการขูดรีดไม่ไหวก็หาทางเลี่ยงภาษีอากรโดยอ้างว่าที่ตรงนี้ ตนเพิ่งเริ่มก่นสร้างได้ปี หนึ่งสองปี กฏหมายว่ายกอากรให้แก่ผู้เริ่มก่นสร้าง ("เบ็ดเสร็จ" ครั้งเริ่มสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา) ข้าหลวงไปเก็บอากรค่านาที่ใดก็ต้องพบแต่ข้ออ้างเช่นนี้ ต้องถกเถียงกันเก็บอากรไม่ได้ กษัตริย์ต่อมาคือพระบรมราชาธิราชที่ ๒ จึงออกพระราชกำหนดเมื่อปี พ.ศ. ๑๗๙๖ บังคับให้ผู้หักร้างนาใหม่มาแจ้งข้าหลวง เอาโฉนดบอกจำนวนที่ดิน และอากรไปถือไว้ ใครไม่มีโฉนดจะต้องข้อหาหลบหนีบดบังอากร มีโทษหนักกล่าวคือ :

"ท่านให้ลงโทษ ๖ สถาน ถ้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บ่ให้ฆ่าตีเสีย ให้เอาอากรซึ่งบังไว้แขวนคอประจานสามวันแล้วไหมจตุรคูณ (ปรับสี่เท่าเงินอากร)" (อาญาหลวงบท ๔๗)

ที่ว่าให้ลงโทษ ๖ สถานนั้นมีต่างๆ กันคือ : ฟันคอ ริบเรือน, จำใส่ตรุไว้ริบราชบาตรแล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง (คือให้ตัดหญ้าให้ช้างหลวงกิน ซึ่งเป็นงานชั้นต่ำสุดเพราะถูกหญ้าบาด งูกัด เหม็นขี้ เยี่ยวช้าง ฯลฯ), ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที, จำไว้เดือนหนึ่ง แล้วเอาตัวถอดลงเป็นไพร่, ไหมจตุรคูณ (ปรับสี่เท่า), และไหมทวีคูณ (ปรับสองเท่า) ใน ๖ สถานนี้ ในหลวงจะเลือกลงโทษสถานใดก็ได้ (อาญาหลวง ๒๗)