ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/172

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๙๙ 

คันธารราษฎร์ขนาดสูง ๓๓ เซนต์ขึ้น ๘๐ องค์ สำหรับส่งไปไว้ตามจังหวัดหัวเมืองทั่วไป เพื่อมีเหตุฝนแล้งเมื่อใด จะได้ทํำพิธีพิรุณศาสตร์ ณ ที่นั้นที"๑๑๓

นี่คือการช่วยเหลือเพียงประการเดียวที่ฝ่ายศักดินายื่นโยนมาให้ประชาชนอยู่เสมอเป็นประจำ

การทำพิธีขอฝนหรือพิธีพิรุณศาสตร์นี้ ทำกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย พิธีในสมัยสุโขทัยนั้น รัชกาลที่ ๕ เคยกล่าวถึงไว้ว่า "อยู่ข้างจะเร่อร่าหยาบคาย"๑๑๔ พิธีนั้นทำกันใหญ่โตทุกปี มีทั้งพิธีพุทธพิธีพราหมณ์และยังมีการบูชาโองการขอฝนอีกอย่างหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่า "ถ้าฝนไม่ตกให้เอาคำโองการออกอ่านฝนก็ตก ดังนี้คำโองการนี้...บางทีจะเกิดขึ้นในแผ่นดินบรมโกษฐ์นั้นเองก็จะได้ด้วยตั้งแต่แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรมมาเรื่องเสกๆ เป่าๆ เชื่ออะไรต่ออะไรยับเยินมีมาก ยิ่งชั้นหลังลงมาดูยิ่งหนักแก่มือขึ้นไป"๑๑๕

และทั้งๆ ที่เห็นว่าเป็นเรื่องเร่อร่าหยาบคาย และยังเป็นเรื่องเสกๆ เป่าๆ ยับเยิน พวกศักดินาก็ยังคงสงวนพิธีนี้ไว้ ทั้งนี้เพราะเป็นทางเดียวที่จะมอมเมาประชาชนและปัดความผิดไปจากตนได้อย่างแนบเนียน

การยื่นมือมาช่วยเหลือประชาชนของกษัตริย์เท่าที่พบหลักฐานก็มีอยู่บ้างนานครั้งนานคราว แต่ถ้าได้ช่วยสักครั้งหนึ่งก็ต้องทวงบุญทวงคุณกันไปนานทีเดียว จะขอยกตัวอย่างในรัชกาลที่ ๔ เมื่อคราวน้ำน้อย พ.ศ. ๒๔๐๗

"อนึ่งในปีนี้เมื่อเดือน ๑๑ เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรน้ำกรุงเก่า ทรงเห็นว่าน้อย ได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้กะเกณฑ์ข้าราชการไปปิดน้ำ (คือปิดทำนบไว้มิให้น้ำลด–ผู้เรียบเรียง) แล้วจำหน่ายพระราชทรัพย์แจกเป็นเงินค่ากับข้าวผู้ทำการคนละบาท แล