หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/179

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๐๖  โฉมหน้าศักดินาไทย
นาจัตวา ไร่ละ ๐.๖๐ บาท
นาเบญจ ไร่ละ ๐.๔๐ บาท

สถิติรายได้ของรัฐบาลศักดินาจากอากรค่านาในรัชกาลที่ ๔ ได้ถึงสองล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็นเจ็ดล้านบาทในสมัยรัชกาลที่ ๖ เฉพาะในรัชกาลที่ ๖ นั้นภาษีที่ดินทั้งมวลได้เป็นจำนวนถึง ๙,๗๐๐,๐๐๐ เศษ (สถิติ ๒๔๖๔)

"อากรสวน" อากรสวนนี้ มักเรียกว่าอากรสวนใหญ่ อันหมายถึงสวนผลไม้เป็นอากรที่ดินอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอากรคู่กับอากรค่านาหางข้าว

การเก็บอากรสวนนั้น มีวิธีเก็บเช่นเดียวกับวิธีเก็บอากรค่านา กล่าวคือกษัตริย์ส่งเจ้าพนักงานข้าหลวงออกไปสำรวจสวนต่างๆ เรียกว่า "เดินสวน" (คู่กับ "เดินนา") หน้าที่นี้ตกอยู่กับกรมพระคลังสวน การจะออกเดินสวนนั้น ทำกันเป็นพิธีรีตองไสยศาสตร์อย่างศักดิ์สิทธิ์ มีการบวงสรวงเทวดา คือ พระรามและเจ้าแม่กาลีเป็นต้น พวกข้าหลวงจะออกสำรวจรังวัดที่ดินและออกโฉนด (ใบสำคัญเก็บอากร) เช่นเดียวกับการเดินนา และพร้อมกันนั้นก็ลงบัญชีต้นไม้นานาชนิดที่จะต้องเสียภาษีลงไว้เป็นหลักฐาน ถ้าหากขณะเดินสวนนั้น เจ้าของสวนไม่ปรากฏตัวต่อเจ้าพนักงาน มัวไปงานศพพ่อตาเสียที่อื่น ก็ถือว่าเป็นสวนร้าง เวนคืนเป็นสวนของหลวง ซึ่งเจ้าพนักงานจะจัดการขายหรือให้แก่ใครก็ได้เป็นสิทธิ์ขาด การเดินสวนนั้นทำกันตอนต้นรัชกาลหนเดียว แล้วใช้ไปตลอดรัชกาล ต้นไม้จะตายจะปลูกใหม่ในระหว่างนั้นอยู่นอกประเด็น แต่ในบางรัชกาลก็เดินสวนถึง ๒-๓ ครั้ง เช่นในสมัยรัชกาลที่ ๕ การเก็บอากรสวนนั้นเรียกเก็บเอาจากต้นไม้ ในสมัยพระนารายณ์ ลาลูแบร์จดไว้ว่าอากรทุเรียนต้นละ ๒ สลึง พลูค้างละ ๑ บาท หมากต้นละ ๓ ผล มะพร้าว