ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/180

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๐๗ 

ต้นละ ๒ สลึง, ส้ม, มะม่วง, มังคุด, พริกต้นละ ๑ บาท

หลักฐานของการเดินสวนเก็บอากรต้นผลไม้นั้นค่อนข้างจะหายากเต็มที เท่าที่มีหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เดินสวนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ครั้งหนึ่ง และเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ อีกครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้ออกทำการเดินสวนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ตั้งแม่กงออกสำรวจกองละ ๘ คน กองหนึ่งๆ มีขุนนางวังหลวง ๖ คน ขุนนางวังหน้า ๒ คน ควบกันไป ทั้งนี้ เพราะอากรนั้นจะต้องแบ่งปันกันในระหว่างวังทั้งสอง ในครั้งนั้นได้ตั้งกองสำรวจเดินสวนขึ้น ๓ กอง กองหนึ่งออกเดินสวนทางฝั่งเหนือ กองหนึ่งออกเดินสวนทางฝั่งใต้ กองที่สามออกเดินสวนในเขตจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม นครไชยศรี สาครบุรี (สมุทรสาคร)

อัตราการเก็บอากรมีดังนี้

หมาก

หมากเอก สูง ๓-๔ วา ต้นละ ๕๐ เบี้ย ร้อยต้น ๓ สลึง ๒๐๐ เบี้ย

หมากโท สูง ๕-๖ วา ต้นละ ๔๐ เบี้ย ร้อยต้น ๒ สลึงเฟื้อง

หมากตรี สูง ๗-๘ วา ต้นละ ๓๐ เบี้ย ร้อยต้น ๑ สลึงเฟื้อง ๖๐๐ เบี้ย

หมากผการาย (ออกดอกประปราย)๑๑๙ ต้นละ ๔๐ เบี้ย ร้อยต้น ๒ สลึงเฟื้อง

หมากกระรอก ต้นละ ๑๑ ผล

มะพร้าว

มะพร้าวเล็กตั้งปล้องสูงศอกหนึ่งขึ้นไป ต้นละ ๕๐ เบี้ย