ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/183

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๑๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

ออกเดินสำรวจที่ดินเป็นครั้งคราวเช่นกัน สรุปว่าอากรสวนในสมัย ร.๔ ได้ปีละ ๕,๕๔๕,๐๐๐ บาท

"อากรค่าน้ำ" อากรค่าน้ำ ก็คืออากรที่เก็บจากการจับปลาในแม่น้ำลำคลอง หนองบึง และทะเล มีทั้งอากรค่าน้ำจืด และนํ้ำเค็ม วิธีเก็บอากรค่าน้ำนี้ มักใช้วิธีให้คนผูกขาดเก็บภาษีรับไปทำ กษัตริย์ออกกฏหมายตั้งอัตราเก็บภาษีอากรไว้เป็นมาตรฐานตามชนิดของเครื่องมือทำมาหากิน เช่น โพงพางน้ำจืดโพงพางละ ๑๒ บาท เรือแพพานลำละ ๑๐ บาท เรือแหโปงลำละ ๖ บาท เรือแหทอดลำละ ๑ บาท เก็บดะไปทุกชนิดมีรายการยืดยาวจนถึงสวิงกุ้งสวิงปลาคนละ ๑๒ สตางค์ ฉมวกคนละ ๑๒ สตางค์ เบ็ดราวคนละ ๕๐ สตางค์ เบ็ดธรรมดา ๑๐๐ คัน ๕๐ สตางค์ พวกที่มารับทำการผูกขาดเก็บภาษีก็จะยื่นจำนวนเงินประมูลกันใครให้เงินมากก็ได้สัมปทานไปทำ เช่นในรัชกาลที่ ๔ พระศรีชัยบานขอผูกขาดเก็บภาษีในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ๓๗ เมืองกับ ๘ ตำบล โดยให้เงินประมูล ๓๗๐ ชั่ง (๒๙,๖๐๐ บาท) ต่อปี พระศรีชัยบานยื่นเงินประมูล ๒๙,๖๐๐ บาท โดยสัญญาว่าจะส่งเงินไปถวายพวกเจ้าขุนมูลนายต่างๆ ดังนี้ :

(๑) ถวายพระคลังมหาสมบัติ ๓๑๔ ชั่ง
(๒) ถวายพระคลังเดิม (ส่วนตัว) ๒๐ ชั่ง
(๓) ถวายวังหน้า ๓๐ ชั่ง
(๔) ถวายกรมสมเด็จพระเดชาดิศร

๑๐
ชั่ง,
ตำลึง
(๕) ถวายกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ชั่ง
(๖) ถวายกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ชั่ง
(๗) ถวายกรมหลวงภูวเนตรรินทรฤทธิ์ ๑๐ ตำลึง