หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/184

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๑๑ 
(๘) ถวายกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ชั่ง
(๙) ถวายกรมขุนสรรพศิลป์ปรีชา ๑๐ ตำลึง
(๑๐) ถวายพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้านพวงศ์ ๑๐ ตำลึง
รวม ๓๗๐ ชั่ง

(ภายหลังอากรค่าน้ำขยับสูงขึ้นจนถึง ๗๐,๐๐๐ บาท)

เมื่อได้ยื่นเงินประมูลและเงื่อนไขที่จะถวายเงินอย่างทั่วถึงในหมู่ชนชั้นศักดินาที่สำคัญๆ ขึ้นมาแล้วผู้ที่มีส่วนผลประโยชน์เกี่ยวข้อง และที่มีอำนาจในแผ่นดินก็ปรึกษาหารือกัน ในที่สุดก็ :

"ปรึกษาพร้อมกันว่า.........ซึ่งราษฎรทำการปาณาติบาตหาผลประโยชน์เลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพจะไม่ต้องเสียอากรค่าน้ำนั้นเห็นว่าเหมือนหนึ่งยินดีด้วยคนทำปาณาปาติบาตหาควรไม่ ซึ่งพระศรีชัยบานทํำเรื่องราวมาว่าจะขอรับพระราชทานทำอากรค่าน้ำนั้นก็ชอบอยู่แล้ว..."๑๒๐

เป็นอันว่าการที่ประชาชนตกเบ็ดตกปลากินนั้นเป็นการผิดศีลข้อ ๑ ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ถ้าไม่เก็บภาษีอากรก็จะกลายเป็นเข้าด้วยพวกทำบาปมิจฉาชีพจึงต้องเก็บภาษีอากรเสียให้เข็ด!!! นี่คือเหตุผลในการที่จะอ้างอิงเอาศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือในการขูดรีดของชนชั้นศักดินา!

เรื่องของอากรค่าน้ำนี้เป็นเรื่องสนุก ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เคยเก็บอากรค่าน้ำโดยการผูกขาด มีรายได้ปีละกว่า ๗๐๐ ชั่ง (๕๖,๐๐๐ บาท) ต่อมาได้เพิ่มภาษีขึ้นอีกมากมายหลายอย่าง จึงลดอากรค่าน้ำลงเหลือ ๔๐๐ ชั่ง (๓๒,๐๐๐ บาท) และต่อมาเลิกหมดเลยไม่เก็บ สาเหตุที่เลิกนั้น มิใช่อยากจะช่วยเหลือแบ่งเบาแอกภาษีจากบ่าของราษฎร หากเป็นเพราะรัชกาลที่ ๓ ธรรมะธัมโมจัดหน่อย