หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/191

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๑๘  โฉมหน้าศักดินาไทย

๒๓๗๕ น้ำน้อยข้าวไม่งาม พวกศักดินาได้พยายามทำพิธีไล่น้ำ (ให้ลด) ก็แล้ว ได้ตั้งพิธีพิรุณศาสตร์ (ขอฝน) ก็แล้ว แต่ก็ไม่ได้ผล หงายหลังไปทั้งพิธีพุทธ พิธีพราหมณ์ ผลจึงปรากฏว่า "ข้าวแพงต้องซื้อข้าวต่างประเทศเข้ามาจ่ายขายคนก็ไม่มีเงินจะซื้อข้าวกิน ต้องมารับจ้างทำงานคิดเอาข้าวเป็นค่าจ้าง เจ้าภาษีอากรก็ไม่มีเงินจะส่ง ต้องเอาสินค้าใช้ค่าเงินหลวง ที่สุดจนจีนผูกปี้ก็ไม่มีเงินจะให้ ต้องเข้ามารับทำงานในกรุง" (พระนิพนธ์รัชกาลที่ ๔) เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐบาลศักดินาก็เดือดร้อน คิดไปคิดมาก็คิดไม่ตกว่า ทำไมเงินไม่มี ทำไมไม่มีเงินเข้าคลัง ชักสงสัยว่า "เงินตราบัว เงินตราครุฑ เงินตราปราสาทได้ทำใช้ออกไปก็มาก หายไปเสียหมด" รัฐบาลศักดินาลืมนึกไปว่า ปกติชาวนาปลูกข้าว เอาข้าวมาขายได้เงินไปใช้ชั่วปี หนึ่งๆ บางทีหรือส่วนมากก็มักไม่พอใช้ เมื่อตัวเองทำข้าวไม่ได้จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อข้าวกิน มีทางเดียวก็คือทิ้งที่นามารับจ้างทำงานในกรุง ทุกคนเข้ามาแต่มือ หิ้วท้องมาด้วยท้องหนึ่ง เวลารับจ้างก็ขอค่าจ้างเป็นข้าว ไม่รับค่าจ้างเป็นเงิน ทั้งนี้ เพราะข้าวหายาก แพง ซื้อยาก พอดีพอร้ายได้เงินไปแล้ว เงินก็ไม่มีค่าหาซื้อข้าวไม่ได้ หรือได้ก็แพงเสียจนซื้อได้ไม่ พอกิน เงินที่หายไปก็อยู่ที่พวกพ่อค้าข้าวที่ซื้อข้าวเข้ามาขายกักตุนไว้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็ไหลออกไปนอกประเทศเพื่อซื้อข้าวเขากิน แล้วจะให้ประชาชนเอาเงินมาจากไหน?

รัฐบาลศักดินาเดือดร้อนเรื่องเงินไม่เข้าคลังมากแต่แทนที่จะช่วยเหลือให้ชาวนาผลิตสิ่งที่มีคุณค่า (คือข้าว) ออกมา จะได้มีเงินใช้ทั่วกันทั้งชาวนาและตัวเอง รัฐบาลศักดินากลับมองหาทางหมุนเงินคือคิดสะระตะว่าทำยังไงจึงจะดึงเอาเงินในมือพวกพ่อค้ามั่งคั่งมาใช้ได้หนอ ที่จริงรัฐบาลศักดินาคิดไม่ถึงด้วยซ้ำว่าเงินตกอยู่ในมือของพ่อค้าหมุนเงินสองสามคน ไพล่ไปคิดว่า "เงินนั้นตกไปอยู่ที่ราษฎร