หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/197

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๒๔  โฉมหน้าศักดินาไทย

ที่สุดรัชกาลที่ ๔ จึงต้องเลิกการผูกขาดภาษีมะพร้าวเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ ใช้วิธีเก็บใหม่คือ เรียกอากรสามต้นสลึงมะพร้าวต้นหนึ่งได้ผลประมาณ ๓๐ ผล (ไม่ดก) ไปจนถึง ๘๐ ผล (คราวดก) เป็นอย่างสูง คำนวณแล้วโดยเฉลี่ยเจ้าของสวนมะพร้าวต้องเสียภาษีร้อยละ ๒๕

ในตอนท้ายเมื่อรัชกาลที่ ๔ ได้ตั้งภาษีอากรขึ้นใหม่ถึง ๑๔ อย่างแล้ว จึงได้เลิกภาษีมะพร้าวโดยเด็ดขาดเพื่อล้างมลทินที่ได้ทำให้ประชาชนอึดอัดมาแต่ก่อน

การผูกขาดภาษีแบบเป็นนายทุนผูกขาดสินค้านี้ ได้ทำกันอย่างทั่วถึง แม้กระทั่งภาษีผักบุ้งซึ่งเป็นเรื่องขำน่ารู้ ดังจะขอเล่าแทรกไว้ในที่นี้ด้วย

"ภาษีผักบุ้ง" เป็นภาษีที่เกิดขึ้นในสมัยปลายอยุธยารัชกาลพระเจ้าเอกทัศ ในรัชกาลนี้บ้านเมืองกำลังเหลวแหลกเต็มที พวกชนชั้นศักดินามัวแต่ "ค่ำเช้าเฝ้าสีซอเข้าแต่หอล่อกามา" ตัวพระเจ้าเอกทัศเองก็ดื่มเหล้าพระเศียรราน้ำ ซ้ำยังเที่ยวซ่องเสพผู้หญิงซุกซนจนเกิดโรคบุรุษ พระเนตรบอดไปข้างหนึ่ง เมื่อใช้เงินทองกันอย่างฟุ่มเฟือยก็ต้องเร่งภาษีเป็นธรรมดา ในที่สุดก็หันมาลงเอยเอาที่ผักบุ้ง ทั้งนี้เพราะประชาชนยากจนกินแต่ผักบุ้งเป็นเดนภาษีนี้นายสังมหาดเล็กชาวบ้านคูจามเป็นผู้ผูกขาด นายสังผู้นี้เป็นพี่ชายของเจ้าจอมฟักพระสนมเอก ซ้ำน้องสาวของหมออีกคนชื่อปาน ก็ได้เป็นพระสนมด้วย เมื่อมีพี่สาวน้องสาวเป็นพระสนมปิดหัวท้ายเช่นนี้ นายสังก็ผูกขาดรับซื้อผักบุ้งแต่ผู้เดียว ใครมีผักบุ้งจะต้องนำมาขายให้นายสังเจ้าภาษี ถ้าลักลอบไปขายผู้อื่นต้องปรับ ๒๐ บาท นายสังกดราคาซื้อไว้เสียต่ำสุด แล้วนำไปขายราคาแพงลิ่วในท้องตลาด เมื่อประชาชนโดนฝีมือนายทุนนายหน้าผูกขาดเข้าเช่นนี้ ก็พากันเดือดร้อนเพราะเดิมทีก็เดือดร้อน