หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/198

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๒๕ 

มากอยู่แล้วจนถึงกับต้องหนีมากินผักบุ้ง ครั้นจะหนีไปกินหญ้าเหมือนวัวควายก็กินไม่ได้ พากันร้องทุกข์ขุนนางผู้ใหญ่ พวกขุนนางผู้ใหญ่ต่างคนก็กลัวคอจะหลุดจากบ่าต่างคนต่างก็อุบเอาเรื่องไว้

จนวันหนึ่ง พระเจ้าเอกทัศนอนไม่หลับไม่สบายมาหลายวัน จึงให้หาละคนมาเล่นแก้รำคาญ ในคณะละครนั้นมีศิลปินของประชาชนได้พยายามแทรกปะปนเข้าไปด้วย ๒ คน คือ "นายแทน" กับ "นายมี" จำอวด ทั้งสองคนเล่นเป็นผู้หญิงคนหนึ่งผู้ชายคนหนึ่ง เล่นจับมัดกันเร่งจะเอาเงินค่าราชการ (เงินเก็บกินเปล่ารายปี ปีละ ๑๘ บาท) นายมีตัวจำอวดหญิงจึงแกล้งร้องว่า "จะเอาเงินมาแต่ไหน จนจะตาย แต่เก็บผักบุ้งขายยังมีภาษี" แกล้งร้องอยู่ถึงสามหน พระเจ้าเอกทัศได้ทรงฟังเข้าก็เกิดละอายพระทัยเพราะอยู่ต่อหน้าธารกำนัล เลยพาลพาโลจะประหารนายสัง แต่เมื่อนึกถึงพี่สาวน้องสาวนายสังที่เป็นสนมเอกทั้งคู่ก็ค่อยคลายพิโรธสั่งเลิกภาษี และชำระเงินที่นายสังกดขี่ปรับเอามานั้นคืนแก่เจ้าของไป๑๒๖

การผูกขาดภาษีทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ส่วนมากชาวจีนเป็นผู้ผูกขาดแทบทั้งสิ้น เมื่อผูกขาดแล้วก็ได้รับแต่งตั้งเป็นหมื่นเป็นขุนให้มีศักดินา ๔๐๐ สำหรับจะได้มีอภิสิทธิแต่งทนายว่าความกับไพร่ที่ไม่มีปัญญาเสียภาษีแทนตัวเองได้ การเรียกขานเจ้าภาษีจึงมักมีคำว่าจีนนำหน้า เช่น จีนขุนพัฒนสมบัติ ผูกขาดอากรบ่อนเบี้ย, จีนพระศรีชัยบาน ผูกขาดภาษีค่าน้ำ, จีนหมื่นมธุรสวาณิช ผูกขาดภาษีน้ำตาลกรวด, จีนขุนศรีสมบัติ ผูกขาดภาษีเบ็ดเสร็จ (เก็บจากของลงสำเภา-นี่เป็ นก้าวใหม่ คือ ผูกขาดจังกอบ)

โดยธาตุแท้แล้ว จีนผู้ผูกขาดภาษีเหล่านี้ ก็คือ "นายหน้า" ของศักดินาที่ออกทำการเสาะแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ศักดินา