หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/20

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๔๗ 

และเจ้าที่ดิน) กับชนชั้นชาวนา (ไพร่, เลก, ชาวนาเอกระ)

เนื่องด้วยปัจจัยแห่งการผลิตสําคัญๆ คือที่ดิน มิได้เป็นสมบัติของสาธารณชนร่วมกันในสังคม แต่หากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของชนกลุ่มน้อยนิดกลุ่มหนึ่ง และชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ ได้อาศัยอํานาจในการครอบครองที่ดินเป็นเครื่องมือในการกดขี่ขูดรีดมหาชนส่วนข้างมาก สังคมของศักดินาจึงแบ่งชนออกได้เป็นสองพวกเช่นเดียวกับสังคมที่มีการขูดรีดอื่นๆ นั่นก็คือ ชนชั้นผู้ขูดรีด (Exploiting class) และ ชนชั้นผู้ถูกขูดรีด (Exploited class) ในสังคมศักดินาที่มีที่ดินเป็นปัจจัยแห่งการผลิตสําคัญ ชนชั้นผู้ขูดรีดจึงได้แก่ผู้ที่ถือกรรมสิทธิในที่ดินผืนมหาศาล อันได้แก่พวกเจ้าที่ดินและเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเรียกว่า ชนชั้นเจ้าที่ดินหรือชนชั้นศักดินา ส่วนชนชั้นผู้ถูกขูดรีดจึงได้แก่ผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิในที่ดินทั้งมวล ซึ่งเรียกว่า ชนชั้นทาสกสิกร หรือชนชั้นไพร่ หรือชนชั้นชาวนาอันรวมเอาชาวนาเอกระที่ทํานาของตนเองเป็นรายปลีกย่อยเข้าไว้ด้วย

ผลของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นทั้งสองดังกล่าวนี้ ผู้ที่ได้รับชัยชนะและเสวยอํานาจทางการเมือง ก็คือชนชั้นเจ้าที่ดิน ทั้งนี้ ก็เพราะชนชั้นเจ้าที่ดินมีสิทธิอํานาจอย่างเด็ดขาดในที่ดิน อันเป็นสิทธิอํานาจในทางเศรษฐกิจ เมื่อชนชั้นนี้ กําเอาชีวิตทางเศรษฐกิจไว้ในกํามือเช่นนี้ ก็เท่ากับว่าเขาได้กําเอาชะตาชีวิตของชนชั้นทาสกสิกรทั้งมวลไว้ในกํามือ และอาศัยการกําชะตาชีวิตของชนชั้นทาสกสิกรไว้ในกํามือเช่นนี้เอง พวกชนชั้นเจ้าที่ดินจึงมีสิทธิอํานาจอย่างเด็ดขาดในการกําหนดสิทธิและหน้าที่ของชนชั้นทาสกสิกรที่พึงมีในสังคม พูดง่ายๆ ก็คือชนชั้นเจ้าที่ดินได้เผด็จอํานาจขึ้นเป็นชนชั้นปกครอง ชนชั้นทาสกสิกรต้องตกเป็นผู้ถูกปกครอง หรือถ้าจะพูดให้ถูกก็คือตกเป็นผู้ถูกกดขี่บงการ นี่ก็คือผลของการต่อสู้ทางชนชั้นอันเป็น