ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/203

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๓๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

การผลิต กล่าวคือที่ดิน เมื่อได้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แล้วก็มีอิทธิพลพอที่จะเสวยอำนาจทางการเมือง เรียกเก็บภาษีที่ดินเอาตามความพอใจ ภาษีที่ดินเป็นหมวดภาษีใหญ่ที่รวมเอาภาษีค่านา, ภาษีสวน, ภาษีสมพัตสร, ภาษีนาเกลือ, ภาษีโรงเรือนร้าน (อากรตลาด) และภาษีเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เข้าไว้ด้วยอีกมาก, ถัดจากภาษีที่ดินก็ได้แก่ส่วย หรือรัชชูปการซึ่งเป็นการเรียกเก็บกินเปล่าโดยชนชั้นศักดินา นอกจากนั้น ก็จัดเป็นพวกภาษีเบ็ดเตล็ด เป็นต้นว่า ภาษีสุรา, อากรค่าน้ำ ฯลฯ เมื่อชนชั้นศักดินาเป็นผู้เก็บภาษีทั้งมวลเช่นนี้ เงินที่ได้ก็ย่อมตกไปเป็นสิ่งบำรุงบำเรอชนชั้นศักดินา ปล่อยให้ประชาชนเสวยเคราะห์กรรมไปตามเพลง เมื่อเป็นเช่นนี้ การเก็บภาษีอากรของศักดินาจึงเป็นการขูดรีดอันมโหฬารอย่างสำคัญ (โดยเฉพาะที่ดิน) ภาษีในสังคมทุนนิยมก็เป็นการขูดรีดของชนชั้นนายทุนเช่นกัน มีเพียงภาษีในสังคมระบบสังคมนิยมที่ประชาชนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยแห่งการผลิตร่วมกันเท่านั้นที่มิได้เป็นการขูดรีด ทั้งนี้เมื่อประชาชนถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยแห่งการผลิตร่วมกัน เขาย่อมถืออำนาจทางการเมืองร่วมกันด้วย และแน่นอนภาษีอากรต่างๆ ย่อมเป็นสิ่งที่บำรุงความสุขสบายและสภาพชีวิตอันสมบูรณ์ของพวกเขาทั้งมวล!...