ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/205

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๓๒  โฉมหน้าศักดินาไทย
๑๔ คำว่า Homage มาจากคำว่า Homme ซึ่งแปลว่าคน (คำเดียวกับ Human ในภาษาอังกฤษ) การทำ Homage ต่อนายก็คือการแสดงความสำนึกว่าตนรู้จักคนที่เป็นนาย และตนเป็นคนของนาย
๑๕ Chivalry มาจากคำว่า Cheval ของภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "ม้า" ทั้งนี้ เพราะอัศวินเป็นนักรบบนหลังม้า ภาษาฝรั่งเศสยังคงเรียกอัศวินว่า Chevalier แปลว่า "คนขี่ม้า" ส่วนที่อังกฤษเรียกอัศวินว่า Knight นั้น มาจากคำในภาษาเยอรมันและดัตช์ว่า Knecht ซึ่งแปลว่า "ทหาร" คำ "อัศวิน" ของไทยก็แปลว่า "คนขี่ม้า" รากศัพท์คือ "อัศวะ" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า "ม้า"
๑๖ ญี่ปุ่นเรียกอัศวินว่า "ซามูไร" ก็เพราะอัศวินญี่ปุ่นรบด้วยดาบที่ตีพิเศษ ดาบนี้เรียกว่า "ซามูไร" คนใช้ดาบเก่งจึงเรียกว่า "ซามูไร" ทำนองเดียวกับพระยาพิชัยดาบหักของไทยสมัยธนบุรี ลัทธิซามูไรของญี่ปุ่นเกิดขึ้นพร้อมกับระบบศักดินาในประเทศนั้นเมื่อราว ค.ศ. ๑๖๐๐
๑๗ ตอนที่ว่าด้วยสภาพของทาสกสิกรในฝรั่งเศสทั้งหมดนี้ รวบรวมมาจาก "ยุโรปสมัยใหม่" (ค.ศ. ๑๗๘๙-๑๙๓๓) ของ A.E. Ecclestone, นายประเสริฐ เรืองสกุล แปลและเรียบเรียงลงในวิทยาจารย์ ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๔ สิงหาคม ๒๔๘๙ หน้า ๗๕๕
๑๘ ดาอิมิโอ (Daimyo) คือพวกเจ้าที่ดินหรือเจ้าขุนมูลนาย
๑๙ จาก "พงศาวดารญี่ปุ่น" ของ ฮิโช-ซาอิโต, ยูปิ เตอร์ แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของเอลิซาเบธ ลี, พิมพ์ที่ ร.พ. จีนในสยามวารศัพท์ พ.ศ. ๒๔๙๕ เล่ม ๒ หน้า ๑๗๔
๒๐ ดู "พัฒนาการของสังคม" โดยสุภัทร สุคันธาภิรมย์ ใน น.ส.พ. รายสัปดาห์ ประชาศักดิ ปี ที่ ๒ ฉบับที่ ๓๔, ๗ พ.ศ. ๒๕๐๐
๒๑ ๑ ส้องเท่ากับ ๑๐,๐๐๐ ตารางฟุต เทียบ ๕ โหม่วของจีน
๒๒ ผู้สนใจรายละเอียดของศักดินาน่านเจ้าโปรดดู "เรื่องของชาติไทย" โดยพระยาอนุมานราชธน (พิมพ์แล้วหลายครั้ง)
๒๓ ดู "ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ" ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ฉบับโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๐ หน้า ๑๖-๒๑
๒๔ ดูกฏหมายลักพาในกฎหมายตราสามดวง มาตรา ๒๐