หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/208

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๓๕ 
๔๘ พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ นี้ คือที่ไทยเราเรียกว่า พระเจ้าประทุมสุริยวงศ์ในนิทาน
๔๙ ปรากฏในศิลาจารึกพระขัน La Stele du Prah Khan d' Angkor, BEFEO, XLI 1941, p.256
๕๐ เมืองราดนี้ บ้างก็ว่าอยู่ที่เพชรบูรณ์ บ้างก็ว่าอยู่ลพบุรี บ้างก็ว่าอยู่ที่เมืองโคราชร้างในจังหวัดนครราชสีมา
๕๑ ดูศิลาจารึกไทยวัดศรีชุม ในประชุมจารึกสยามภาค ๑
๕๒ นโยบายนี้ เขมรยังได้ใช้ต่อมาอีกนานในรอบร้อยปี ถัดมา ท้าวฟ้ างุ้มกษัตริย์หลวงพระบางก็ได้รับแจกลูกสาวมาคนหนึ่ง ชื่อว่า "ยอดแก้ว"
๕๓ รัฐอีจานนี้ปรากฏในศิลาจารึกวัดศรีชุม ในประชุมจารึกสยามภาค ๑ ภายหลังได้ทะเลาะกับรัฐเมืองราดถึงกับรบกันยกใหญ่
๕๔ นักพงศาวดารมักเดาเอาว่าอาณาเขตของสุโขทัยเลยตลอดไปถึงยะโฮร์! อันนี้เกินจริงที่จริงมีเพียงรัฐของพระยา

นครศรีธรรมราชเท่านั้นที่อยู่ภายใต้อำนาจของสุโขทัย ตามศิลาจารึกที่บ่งไว้ว่าอาณาเขตทางใต้ เลยนครศรีธรรมราชออกไปถึง "ทะเลสมุทร" นั้น หมายถึงทะเลสาบน้ำเค็มสงขลา

๕๕ ดูศิลาจารึกวัดศรีชุม ในประชุมจารึกสยามภาค ๑
๕๖ จารึกกฏหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัย, ฉ่ำ ทองคำวรรณ อ่าน, วารสารศิลปากร ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๙๘, หน้า ๑๐๒
๕๗ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เป็นชมรมไทยขนาดใหญ่อีกชมรมหนึ่งทางอำเภอแม่สอด ภายหลังถูกรวบเข้ากับอาณาจักรสุโขทัย
๕๘ พัฒนาการของกษัตริย์จากพ่อขุนไปสู่พญา เจ้าพญา และสมเด็จเจ้าพญาจนถึงพระเจ้าแผ่นดินนี้ ศึกษาได้จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ทั้งที่พบเก่า (ในประชุมจารึกสยาม ภาค ๑) และที่พบใหม่ (พิมพ์ทยอยในวารสารศิลปากร)
๕๙ ในพระอัยการเบ็ดเสร็จ ซึ่งตราขึ้นก่อนสร้างอยุธยา ๘ ปี ประมวลกฏหมายรัชกาลที่ ๑ ฉบับพิมพ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน้า ๒๐๐ เล่ม ๒
๖๐ ดู "บันทึกเกณฑ์สอบศักราช" โดย ธนิต อยู่โพธิ์, วารสารศิลปากร ปีที่ ๕ เล่ม ๓ ตุลาคม ๒๔๙๔ หน้า ๕๙ กฏหมายทั้งสองนี้