หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/29

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๕๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

รัฐของมวลชนผู้ถูกขูดรีดทุกคนที่ตั้งขึ้นเพื่อขจัดชนชั้นผู้ขูดรีดให้หมดไป และเข้าถือบังเหียนสถาบันทางการเมืองไว้เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดสรรผลประโยชน์ของมวลชนผู้เป็นเจ้าของในปัจจัยแห่งการผลิตร่วมกัน ในสภาพเศรษฐกิจดังกล่าวของรัฐแห่งชนชั้นกรรมาชีพนี้ เท่านั้น ชาวนาจึงสามารถปรับปรุงเศรษฐกิจเอกระแบบต่างคนต่างทํามาเป็นเศรษฐกิจแบบการผลิตรวมหมู่ทางเกษตร ซึ่งโดยการนี้ ชาวนาก็จะสามารถรวมกันเข้าได้เป็นกลุ่มก้อนและมีการจัดตั้งอย่างเป็นระเบียบและทําลายซากเดนของศักดินาลงได้อย่างแท้จริง!

๔) การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นศักดินากับชนชั้นกลาง

ได้กล่าวมาแล้วในลักษณะทางเศรษฐกิจว่า ในตอนปลายของยุคศักดินา ความขัดแย้งใหม่ได้เกิดขึ้นนั่นคือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างระบบการค้าผูกขาดของศักดินาและระบบการค้าเสรีของชนชั้นกลาง ความจัดเจนในการต่อสู้ทําให้ฝ่ายศักดินากดขี่พวกชนชั้นกลางมากขึ้น และขณะเดียวกันก็ทําให้ชนชั้นกลางตระหนักมากขึ้นว่า การที่จะทําลายระบบผูกขาดการค้าของศักดินาลงได้ ก็มีแต่การโค่นล้มอํานาจทางการเมืองของศักดินาลง แล้วสถาปนาอํานาจทางการเมืองของชนชั้นตนขึ้น การจัดตั้งของพวกชนชั้นกลางซึ่งถึงแม้จะหละหลวม แต่ก็ได้เกิดขึ้นเพื่อต่อสู้กับอํานาจทางการเมืองของศักดินาอย่างหนักหน่วง พวกชนชั้นกลางที่ทําการต่อสู้กับศักดินานี้ มิได้ต่อสู้โดยโดดเดี่ยว หากได้มีชนชั้นทาสกสิกรผู้ถูกกดขี่ขูดรีดอย่างแสนสาหัสเข้าร่วมในขบวนการด้วย กําลังของฝ่ายชนชั้นกลางจึงเป็นกําลังอันมหาศาล ในที่สุดชนชั้นกลางโดยการสนับสนุนของประชาชนทั่วไปก็ทําลายอํานาจทางการเมืองของศักดินาลงได้ และสถาปนารัฐของชนชั้นกลางขึ้นแทนที่ในที่สุด นั่นคือวาระสุดท้ายของอํานาจทางการเมืองของศักดินา ตัวอย่างแห่งการต่อสู้และโค่นล้มระบบศักดินา