หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/54

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๘๑ 

เสีย แล้วประทานให้ข้าราชบริพาร หรือเจ้าขุนมูลนายคนสนิทคนซื่อสัตย์ไปปกครอง จึงเกิดเจ้าขุนมูลนายชุดใหม่ขึ้น พวกเจ้าขุนมูลนายที่ได้รับมอบที่ดินไปจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคําบัญชาของราชะอย่างไม่มีข้อแม้ ตัวอย่างของผู้ที่ใช้วิธีนี้ ก็คือพระเจ้าวิลเลียมพิชิตราชแห่งนอมันดี (William the Conqueror)

ที่ดินที่ราชะมอบให้แก่คนหนึ่งๆ ไปครองนั้นเรียกว่า Fief หรือ Feud ค้านี้ มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินยุคหลังว่า Feodum แปลว่าผืนดินที่ใหูไปท้ากินโดยตูองส่งค่าเช่า นี้แหละเป็นตูนก้าเนิดของค้าว่า Fee ในภาษาอังกฤษอันแปลว่าค่าเช่า และเป็นต้นกำเนิดของคำว่า Feudalism อันเป็นชื่อของระบบศักดินาภาษาอังกฤษ และ Féodalisme ของภาษาฝรั่งเศส๑๐

ในสมัยแรกของระบบศักดินาในยุโรป ที่ดินที่มอบให้เจ้าขุนมูลนายย่อยไปดูแลทํามาหากินนั้น เรียกว่า Benefice ซึ่งแปลว่า "พระมหากรุณา" หรือ "ผลประโยชน์อันเก็บจากที่ดิน" แต่ต่อมาในชั้นหลังเมื่อที่ดินนั้นตกทอดเป็นมรดกสืบสกุล จึงเปลี่ยนมาเรียกเสียใหม่ว่า Fief หรือ Feud ดังกล่าว ส่วนเจ้าขุนมูลนาย ที่ได้รับที่ดินไปนั้น เรียกกันว่า Vassal คือสามนตราชหรือ Feudal Lords คือเจ้าขุนมูลนาย เจ้าแผ่นดินใหญ่ผู้ประทานที่ดินนั้น เรียกกันว่า Suzerain อันแปลได้ว่า "อธิราช" ที่ดินที่พวกสามนตราชหรือ Vassal รับพระราชทานไปนั้น ส่วนหนึ่งจะสงวนไว้ให้ทาสอันเป็นซากเดนของสังคมทาส ทําไร่ไถนาส่งผลประโยชน์ทั้งมวลแก่ตน ส่วนหนึ่งกําหนดให้พวกเลกหรือไพร่ทํางานส่งส่วยให้ตน บางส่วนก็ให้เสรีชนเช่าทํามาหากิน บางส่วนก็ประทานต่อไปให้เสรีชนที่มีความดีความชอบประกอบการทํามาหากิน เป็นชาวนาเอกระ ชาวนาเอกระที่เกิดล้มละลายด้วยหนี้ สิน ต้องขายตัวเป็นทาส อาจขายที่ดินของ