ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/55

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๘๒  โฉมหน้าศักดินาไทย

ตนให้ชาวนาเอกระคนอื่นๆ ในที่สุดชาวนาเอกระที่รับซื้อหรือบังคับซื้อที่ดิน ก็กลายเป็นเจ้าที่ดิน (Landlord) ขึ้นมา ชนชั้นเจ้าที่ดินจึงเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยความล้มละลายฉิบหายของพวกชาวนาเอกระ และขณะเดียวกัน อาณาเขตของพวกสามนตราชก็แบ่งแยกซอยเป็นผืนดินขนาดเล็กกระจายออกไปทุกขณะ ความจริงข้อที่ผืนดินของสามนตราชกระจายออกไป และเกิดเจ้าที่ดินขนาดกลางเพิ่มขึ้นนี้ จะเห็นได้จากประเทศบราซิลในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เมื่อโปรตุเกสใช้ลัทธิอาณานิคมเข้าครอบครอง (ค.ศ. ๑๕๓๔) นั้น บราซิลถูกแบ่งแยกออกเป็นอาณาเขตของสามนตราชเพียง ๑๓ ส่วนใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ละส่วนยาวเลียบฝั่งสมุทรอัตลันติคเป็นระยะเฉลี่ยถึง ๒๐๐ ไมล์ ผู้ครอบครองแต่ละส่วนก็คือเจ้าขุนมูลนาย ที่เรียกเป็นภาษาโปรตุเกสว่า Donatarios๑๑ แต่ต่อๆ มาที่ดินนั้นก็แบ่งกระจายออก แต่กระนั้นก็ยังใหญ่โตมโหฬาร เจ้าที่ดินโปรตุเกสคนหนึ่งๆ มีที่ดินในครอบครองขนาดโตกว่าประเทศโปรตุเกสเองด้วยซ้ำ ครั้นพอถึงศตวรรษที่ ๑๘ ที่ดินก็กระจายออกจนเป็นส่วนย่อย มีเจ้าที่ดินขนาดกลางหรือขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น เช่นในจังหวัดสําคัญของรัฐ Rio Grande do Sul เพียงจังหวัดเดียว มีเจ้าที่ดินครอบครองถึง ๕๓๙ คน แต่ละคนครอบครองที่ดินจาก ๑๘,๐๐๐-๙๐,๐๐๐ เอเคอร์๑๒ ที่ St. Lawrence ในคานาดาอันเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและที่อื่นๆ ก็มีปรากฏการณ์อันยกเป็นตัวอย่างได้เช่นเดียวกัน๑๓

โดยมีการกระจายของที่ดินเช่นนี้ ทําให้พวกสามนตราช (Vassal) กลายมาเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยในชั้นหลังไม่มีอํานาจยโสโอหังเหมือนตอนแรกๆ ทั้งนี้ ก็เพราะที่ดินในอํานาจของตนลดน้อยลง พวกสามนตราชที่กลายมาเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยนี้ เรียกกันว่า Liegeman ซึ่งแปลว่า "ผู้ซื่อสัตย์" หรือ "ผู้รับใช้นาย" ส่วนกษัตริย์ที่เรียกว่า