ข้ามไปเนื้อหา

หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/65

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๙๒  โฉมหน้าศักดินาไทย


ชาติกุลหนึ่งๆ ซึ่งมีกําลังเพียงหยิบมือเดียวไม่สามารถเที่ยวตระเวนริบที่ดินมาจากชาติกุลอื่นๆ นับเป็นร้อยๆ พันๆ แห่ง มาตั้งเป็นระบบศักดินาและเหยียดชนในชาติกุลอื่นลงมาเป็นเลกไพร่ได้เหนาะๆ อย่างที่คิดเดาเอาเลย

พัฒนาการแห่งการผลิตเท่านั้นที่กําหนดสภาพการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตของสังคม ชาติกุลของชุมชนบุพกาลต้องรบพุ่งแย่งชิงอาหาร ที่ทางทํากินกันและกันอยู่นมนานเสียก่อน เมื่อชาติกุลหนึ่งชนะอีกชาติกุลหนึ่งก็ฆ่าทิ้งเสียทั้งหมดเพื่อให้สิ้นเสี้ยนหนาม ต่อมาภายหลังเกิดความคิดที่จะเก็บเอาพวกเชลยศึกไว้ใช้งานเพื่อให้ทําการผลิตแทนตน จึงได้เลิกฆ่าเชลยศึก พวกเชลยศึกจึงตกเป็นทาส เป็นเครื่องมือหรือปัจจัยแห่งการผลิตที่สําคัญ ชนชั้นนายทาสกับชนชั้นทาสจึงเกิดขึ้น นายทาสต่อนายทาสเกิดรบพุ่งชิงที่ทางทํามาหากินและชิงทาสกันและกันอีกนมนาน จึงเกิดนายทาสขนาดใหญ่ เกิดกลุ่มนายทาส เกิดรัฐทาส ซึ่งทาสทั้งมวลในรัฐทาสนี้ แหละจะกลายมาเป็นเลกของยุคศักดินาเมื่อรัฐทาสทลายลง

ถ้าไม่มีทาสมาก่อนแล้ว "เลก" ของศักดินาจะมาจากไหน? พระอินทร์ประทานลงมาจากสวรรค์กระนั้นหรือ?

การวิเคราะห์สังคมมนุษย์ โดยที่มิได้ยึดถือปัจจัยแห่งการผลิตหรือเครื่องมือในการทํามาหากินเป็นหลักและมิได้ยึดพัฒนาการของการผลิตเป็นแนวทางแล้ว ผลที่ได้ก็คือการโผล่ผลัวะขึ้นมาของระบบสังคมต่างๆ เช่นที่ปราชญ์ของศักดินาได้กระทํานี้อย่างไม่ต้องสงสัย

เท่าที่กล่าวมานี้เป็นเพียงการชี้ให้เห็นว่า ระบบศักดินาจําเป็นต้องเกิดขึ้นโดยผ่านพัฒนาการของสังคมทาสตามกฏทางภววิสัยของการผลิต นักประวัติศาสตร์กลุ่มศักดินาอาจจะสงสัยว่า มี