หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/74

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๐๑ 

ในการบริหารบ้านเมืองและเป็นที่สองรองจากกวานเจ้า เสร็จขั้นนี้ แล้วกวานเจ้ายังแบ่งปันที่ดินให้แก่นายบ้านทุกคน ที่ที่แบ่งให้มีขนาดเล็กลงอีกขนาดหนึ่ง ต่อจากนั้นก็แบ่งให้แก่ท้าวทุกคนลดหลั่นลงตามฐานะและยศศักดิ์ ลักษณะเช่นนี้ทําทีคล้ายกับระบบศักดินา แต่หากไม่ใช่ ทั้งนี้เพราะพวกนายบ้านซึ่งเรียกว่ากวานบ้าน นั่นคือหัวหน้าของหมู่บ้านได้ทําการแบ่งปันที่นาให้แก่ครัวเรือนต่างๆ อีกทอดหนึ่งสําหรับทํามาหากินโดยมิได้เรียกร้องค่าเช่า เมื่อชาวบ้านคนหนึ่งอพยพออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ก็ต้องเวนคืนที่ดินไปให้นายบ้าน (กวานบ้าน) เมื่อกวานบ้านรับที่ดินคืนมาแล้วก็จัดการแบ่งปันที่ดินกันใหม่ในหมู่คนที่ยังอยู่ หรือถ้ามีคนเพิ่มเข้ามาอยู่ใหม่ ก็ต้องมีการแบ่งปันที่นากันใหม่ พวกไทยขาวที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำแดง (ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม-เวียดนามเหนือ) ก็เคยมีประเพณีเดิมอยู่อย่างหนึ่งคือจัดการแบ่งปันที่นากันใหม่ทุกๆ สามปี ระหว่างครัวเรือนหนึ่งๆ ที่นาที่แต่ละครัวได้รับจากการแบ่งปันนั้นยึดถือเอาจํานวนคนในครัวเรือนเป็นมาตรฐานสําหรับคํานวณส่วนแบ่ง (ประเพณีนี้เลิกเสียนานแล้ว) วิธีแบ่งของเขาก็คือแบ่งนาออกเป็นแปลงๆ แล้วแต่ละครัวเรือนก็มาจับฉลากเอา เมื่อพ้นสามปีแล้ว ก็นําที่นามารวมกันเป็นผืนเดียวแล้วจับฉลากใหม่ ในการแบ่งปันที่นานี้โดยมากนายบ้านมักจะสงวนนาไว้ให้แก่ผู้มีตําแหน่งในการบริหารบ้านเมืองอันเป็นอภิสิทธิ์ที่ให้ตอบแทนหน้าที่บริหารของพวกนั้น และนาของพวกที่ทําหน้าที่บริหารนี้พวกชาวบ้านจะถูกเกณฑ์มาทําแทนให้๓๔ การเกณฑ์แรงงานชาวบ้านมาทํานาของพวกผู้บริหารบ้านเมืองนี้ใกล้กันกับการเกณฑ์แรงของระบบศักดินา แต่ทว่าไม่ใช่ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารมิได้เป็นเจ้าขุนมูลนายที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเด็ดขาดไว้ในมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และชาวบ้านก็มิได้เป็นเลกเป็นไพร่อย่างระบบศักดินา