หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/77

จาก วิกิซอร์ซ
หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๐๔  โฉมหน้าศักดินาไทย

สามารถทํานาเต็มเนื้อที่ของตนได้ หรือในกรณีทึ่ครอบครัวสูญสิ้นไป เกิดมีที่นาว่างเปล่าขึ้น จึงแบ่งปันกันไปให้แก่ครัวเรือนที่มีกําลัง (หรือพลังการผลิต) มาก ในตอนนี้ พวกสกุลที่มีอิทธิพลมากจึงมักฉวยโอกาสยึดถือเอาที่นาว่างเปล่านั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนแล้วใช้ทาสทํานาบนที่ดินนั้น หรือไม่ก็จ้างเขาทํา๓๕

นี่คือระยะช่วงต่อระหว่างชุมชนบุพกาลกับสังคมทาส ลักษณะของชุมชนเชื้ อชาติไทยที่ระบบการแบ่งปันที่นากําลังสูญ ระบบกรรมสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนกําลังเริ่มต้นนี้ ก็คือการสลายตัวของ "ชมรมกสิกรรม" อันเป็นรูปแบบสุดท้ายของชุมชนบุพกาลนั่นเอง และจากจุดนี้ เองเมื่อมีการทําสงครามระหว่างชาติกุลหรือชมรมขึ้น เชลยที่จับได้มาก็จะได้รับการไว้ชีวิตและกดลงเป็นทาสเพื่อทําการผลิตในที่นาของแต่ละครัว ต่อจากนั้นสกุลโตๆ ที่ได้ใช้อิทธิพลขยายเขตที่นาดังกล่าวก็จะขยายเขตของตนออกไป จะโดยแย่งชิงขับไล่ราษฎรออกจากที่ทํากินเพื่อเข้าครอบครองเสียเอง๓๖ หรือจะโดยรุกรานเข้าไปยังที่ของชมรมอื่นหรือจะโดยให้ทาสหักร้างถางพงเพื่อจับจองก็ได้ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า ชมรมของชนชาติไทยดั้งเดิมมีลักษณะเป็นชมรมกสิกรรมของปลายยุคชุมนุมชนบุพกาลหรือคอมมิวนิสต์ยุคดึกดําบรรพ์นี้ ดอกเตอร์ ร. แลงกาต์ อาจารย์ผู้ปาฐกถาวิชาประวัติศาสตร์กฏหมายไทยสําหรับชั้นปริญญาโท ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์กฏหมายไทย" ว่า

"ควรสังเกตว่า ระบอบที่ดินของชนเชื้อชาติไทยนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่ถือว่า ที่ดินเพาะปลูกควรเป็นของกลางในหมู่ชนที่ผู้เป็นประมุขมิได้แทรกแซงแบ่งปันโดยเห็นแก่บุคคล แต่เอาใจใส่ให้การแบ่งปันไปตามระเบียบเรียบร้อย